Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

เราควรจะบอกหรือไม่ เกี่ยวกับความจริงของอาการป่วย

-A +A

คำถาม : เราควรจะบอกหรือไม่ เกี่ยวกับความจริงของอาการป่วย

 

พระไพศาล วิสาโล : ในสังคมตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิผู้ป่วย การบอกถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ แต่สังคมตะวันออกเรามักต้องดูคนรอบข้างด้วย ขอเสนอว่า เราต้องทำไปพร้อมกันทั้งกับญาติและคนไข้ แต่ถ้าต้องเลือก เรามักจะยึดคนไข้เป็นหลักก่อน ดูปฏิกิริยา คอยประเมินว่าทั้งคนไข้และญาติมีปฏิกิริยาอย่างไร สิ่งที่ญาติห่วงกังวลถ้าบอกความจริงคืออะไร การบอกต้องทำด้วยระมัดระวัง  ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ญาติมักคิดไปล่วงหน้า ห่วงว่าถ้าคนไข้รู้ความจริงอาการจะยิ่งทรุดหนัก  ซึ่งส่วนใหญ่เราพบว่าคนไข้จะรู้ความจริงได้เองในที่สุด ทั้งจากปฏิกิริยาคนรอบข้าง สีหน้าท่าทางของญาติ อาการที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือ แนวทางการรักษาบางอย่าง เช่น ให้เคมีบำบัด หรือ ฉายแสง  เป็นต้น  เพียงแต่จะพูดหรือไม่เท่านั้น  การปิดบังกลับยิ่งทำให้บรรยากาศอึดอัดด้วยกันทั้งสามฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ให้การรักษา คนไข้ และญาติ

          ดังนั้น การบอกความจริงถ้าสามารถก่อประโยชน์ต่อคนไข้ก็น่าจะบอกเพราะคนไข้จะได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจและมีแนวทางว่าจะจัดการกับชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตดีที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคนไข้ด้วย หลักๆ ก็คือ เป็นประโยชน์ ถูกกาลเวลา และด้วยจิตที่เมตตา ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญจึงไม่ใช่แค่การบอกให้รู้  แต่ต้องรู้ว่าจะบอกอย่างไรและจะดูแลประคับประคองหลังการบอกอย่างไร ไม่ใช่สักแต่ว่าบอกๆไปตามหน้าที่  เรื่องร้ายไม่จำเป็นต้องบอกอย่างร้าย ไม่ใช่การบอกทางโทรศัพท์แล้ววางหู  แต่ต้องคิดต่อว่าบอกไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้น และจะทำอย่างไรด้วย  โดยการบอกอาจจะค่อย ๆ บอก ทีละนิด แล้วสังเกตว่าคนไข้มีท่าทีอย่างไร หรืออาจถามคนไข้ว่าเขารู้สึกอย่างไรบ้าง  เพื่อให้คนไข้ได้มีโอกาสระบายความรู้สึก  แล้วจึงค่อยๆ ปลอบโยน ให้ความมั่นใจว่าเขาไม่ได้เผชิญปัญหานี้เพียงลำพัง ทุกคนพร้อมจะเป็นกำลังใจและสนับสนุนเขาอย่างไรบ้าง

          มีตัวอย่างหนึ่ง คนไข้เหมือนจะรู้ตัวว่าเป็นอะไร แต่ไม่ยอมรับ ญาติเองก็รู้ความจริงจากหมอแต่ขอให้ปิดบังไว้  คนไข้ก็มักจะบอกญาติว่าตัวเองจะหายแน่นอน  เมื่อสภาพร่างกายแย่มากขึ้นเรื่อยๆ ญาติก็ไม่รู้จะทำอย่างไร  ต้องทุกข์ทรมานใจทั้งสองฝ่าย  

คอลัมน์: