โครงการขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญาผ่านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
งานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองเป็นการดำเนินงานในมิติสุขภาวะด้านกายเป็นส่วนใหญ่และมีการให้ความสำคัญกับมิติด้านจิตใจและสังคมเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้เป็นการจำกัดวงทำงานอยู่เฉพาะบุคลากรสุขภาพ และจิตอาสา ส่วนสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual health) ยังไม่มีการเริ่มดำเนินการ
เครือข่ายพุทธิกาจึงริเริ่มโครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ฯ เมื่อปี พ.ศ.2554 และพบว่า พระสงฆ์เป็นกลไกสำคัญที่สุดในด้านสุขภาวะทางปัญญา เป็นผู้น้อมนำหลักธรรมคำสอนมาใช้เยียวยาและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้เป็นอย่างดี ส่วนกลไกบุคลากรในโรงพยาบาลและจิตอาสาเป็นสองกลไกที่สำคัญ ที่จะเชื่อมประสานการทำงานร่วมกัน เป็นทีม มีพื้นที่ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ
เป้าหมายหลักของโครงการฯ ซึ่งเป็นการทำงานต่อเนื่องระยะที่สอง คือ การขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญาโดยสนับสนุนงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดยดำเนินการ 3 ด้านหลักคือ
1.เครื่องมือ: สนับสนุนองค์ความรู้ด้วยการพัฒนาคู่มือและจัดอบรมหลักสูตรความรู้ให้กับทีมสุขภาพ
2.คน: พัฒนาทีมกระบวนกร/วิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้ต่อเนื่อง
3.พื้นที่: พัฒนาและเสริมศักยภาพพื้นที่ต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเอื้ออำนวยให้เกิดพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันของทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย
กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
• กลุ่มภาคีร่วมงาน คือ พยาบาล พระสงฆ์ จิตอาสา และชุมชน ซึ่งมาเข้าร่วมอบรม และร่วมพัฒนางานกับโครงการฯ
• กลุ่มเป้าหมายในการทำงาน คือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยเรื้อรังที่ได้รับการวินิจฉัยว่าจะไม่หายจากโรค และได้รับการประเมินว่ามีค่าระดับ PPS (Palliative performance scale) น้อยกว่า 40 รวมถึงผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
โครงการฯ ดำเนินงานโดยเครือข่ายพุทธิกา มีระยะเวลาทำงาน 24 เดือน (ก.ย. 2557 – ส.ค. 2559) และได้รับการสนับสนุนจาก สสส.
กิจกรรมหลักของโครงการฯ คือ
1.จัดระบบ/พัฒนาองค์ความรู้ ทบทวนข้อมูลจากโครงการระยะที่ 1และเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อพัฒนา “คู่มือการพัฒนาระบบและกลไกการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยโรงพยาบาล พระสงฆ์ และชุมชน”
2.พัฒนาและเสริมพลังโรงพยาบาลต้นแบบ
• จัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ประสบการณ์การทำงานและตัวอย่างการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะท้ายของโรงพยาบาลต้นแบบ
• ส่งเสริมให้โรงพยาบาลต้นแบบได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ในเวทีต่างๆ
• รวบรวมกรณีศึกษาเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ
3. ขยายผลการทำงานสู่โรงพยาบาลใหม่
• พัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมพัฒนาศักยภาพให้ผู้สนใจที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
หลักสูตร 1 ทักษะพื้นฐานการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายอย่างเป็นองค์รวม
หลักสูตร 2 แนวทางและทักษะการดูแลด้านจิตวิญญาณ/ปัญญา (Spiritual Care)
หลักสูตร 3 กระบวนการดูแลเยียวยาทีมทำงาน (Healing the Healer)
• พัฒนาศักยภาพพื้นที่ทำงานเดิมเพื่อขยายผลการทำงานลักษณะเครือข่ายในระดับพื้นที่ให้กว้างขึ้น (จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสุรินทร์)
4.พัฒนาทีมวิทยากร/ กระบวนกร
จัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเป็นกระบวนกรด้านการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
5. ทำความเข้าใจ/เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
• ประสานงานพระสังฆาธิการและคณะสงฆ์ชี้แจงถวายความรู้ ประโยชน์ที่จะเกิด และขอความร่วมมือในส่วนที่คณะสงฆ์จะช่วยเหลือได้
• ประสานความร่วมมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม เพื่อผลักดันให้มีระบบสนับสนุนพระภิกษุเข้ามามีส่วนร่วมทำงานมากขึ้น
• ประสานความร่วมมือกับสถาบันแพทย์ศาสตร์ศึกษา เครือข่ายพยาบาลองค์กร และบุคลากรสุขภาพให้เข้ามามีส่วนร่วมทำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มากขึ้น
• ประสาน/ขอการสนับสนุนจากองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมทำงานดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มากขึ้น
6. ประชาสัมพันธ์สร้างการยอมรับในสังคมและวงการสุขภาพ
• จัดทำจดหมายข่าว
• เผยแพร่ความรู้และกิจกรรมของโครงการผ่านเว็บไซต์
• นำเสนอผลงานในเวทีวิชาการ
7. ติดตามประเมินผลการทำงานในทุกกิจกรรมของโครงการ (ประเมินผลภายใน)
บทความโดย อุบล หาญฤทธิ์ |
|
หลักสูตรพื้นฐานการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายอย่างเป็นองค์รวม | |
สังฆะกับการดูแลผู้ป่วย บทความโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ |
|
การสร้างสังฆะแห่งการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย บทความโดย กองสาราณียกร จดหมายข่าวอาทิตย์อัสดง |
|
โครงการ ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย |