Error message

Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

โครงการ ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย

-A +A

โครงการ ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน
ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย

         ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้ายและผู้ป่วยมะเร็งที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่มอายุและทุกระบบ ทำให้กลายเป็นภาระหนักของโรงพยาบาลในการให้บริการสุขภาพ เนื่องจากผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้ว่าจะหมดหวังที่จะรักษาให้หาย แต่ก็ยังต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐแทบทุกแห่งในขณะนี้ล้วนอยู่ในสภาพขาดแคลน สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้การดูแลอย่างเป็นองค์รวมจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและจำกัด

         จากประสบการณ์ของเครือข่ายพุทธิกา ในการทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาไม่น้อยกว่า 8 ปี พบว่าปัจจัยสำคัญที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์และช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบก็คือ การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เปิดพื้นที่ให้ชุมชนหรือภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมเข้ามาส่วนร่วมหรือมีบทบาทในการดูแลเพิ่มขึ้น อาทิ พระสงฆ์ จิตอาสา เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ คือ ทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการเยียวยาด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และยังเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่สามารถน้อมนำจิตให้จากไปอย่างสงบได้อีกด้วย

         นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ในโครงการสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ใน 13 จังหวัด ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส. พบว่า หนึ่ง โรงพยาบาลส่วนใหญ่ขาดระบบหรือกลไกในการทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตผู้ป่วย จึงทำให้กระบวนการรักษามุ่งเน้นไปที่การดูแลทางกายเป็นหลัก ในขณะที่การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณยังเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล สอง แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังขาดความมั่นใจ สาม พระสงฆ์ส่วนใหญ่ยังเน้นในเรื่องพิธีกรรม ขาดความเข้าใจในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและขาดการทำงานเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลหรือภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในพื้นที่ 

         ด้วยเหตุนี้ โครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาลและชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย จึงพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสุขภาพและภาคีเครือข่ายในชุมชน ได้แก่ พระสงฆ์ แม่ชีนักบวช จิตอาสา ผู้นำชุมชน ฯลฯ ที่สนใจทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายให้มีความรู้และทักษะในการดูแลด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาให้เกิดระบบและกลไกในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เปิดพื้นที่ ให้พระสงฆ์และชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานจนเกิดรูปธรรมที่ใช้เป็นตัวอย่างให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ นำไปขยายผลต่อไป

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมศักยภาพบุคลากรในโรงพยาบาล พระสงฆ์ และชุมชนให้สามารถดูแลและช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมื่อถึงวาระสุดท้ายก็สามารถจากไปอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  2. ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำจิตวิญญาณให้กับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัว และชุมชน 
  3. พัฒนากลไกในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรสุขภาพ กับ พระสงฆ์ ชุมชน และจิตอาสา เพื่อให้เกิดระบบการดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สังคม และปัญญา และมีความต่อเนื่องยั่งยืน
  4. พัฒนาหลักสูตรและคู่มือ (แนวทาง) สำหรับพยาบาล พระสงฆ์ และจิตอาสาในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย และกรณีตัวอย่างการจัดบริการสุขภาพที่เอื้อให้พระสงฆ์และชุมชนมีส่วนร่วมใน การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย

 

กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงาน

ภูมิภาค กลุ่มเป้าหมาย
ขอนแก่น รพ.น้ำพอง / รพ.อุบลรัตน์ /  รพ.ศรีนครินทร์  
รพ.ขอนแก่น / รพ. ชุมแพ / รพ. พล
นครชัยบุรินทร์ รพ.ปากช่อง / รพ.ครบุรี / รพ.ปักธงชัย  / รพ.มหาราช / รพ.ค่ายสุรนารี / 
รพ.หัวทะเล / รพ.วังน้ำเขียว / รพ.ชุมพวง / รพ.สต.ดอนชมพู / 
รพ.สต.มะค่า / รพ.สต.กระฉอด
รพ.ชัยภูมิ  / รพ.สุรินทร์ / รพ. บุรีรัมย์
ชุมพร รพ. ปะทิว / รพ. ท่าแซะ 
รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ / รพ.มาบอำมฤต  
รพ. สวี / รพ. หลังสวน / รพ. ละแม / รพ. ทุ่งตะโก
ภาคเหนือ รพ.นครพิงค์ และลูกข่ายในอำเภอแม่ริม 
รพ.แม่สรวย / รพ.แม่สอด

 

 

 

คอลัมน์: