Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

พินัยกรรมชีวิตคืออะไร

-A +A

         พินัยกรรมชีวิต เป็นเอกสารทางกฎหมายที่บุคคลใช้แสดงความปรารถนาของเขาหรือเธอต่อการดูแลทางการแพทย์ในการยืดชีวิตออกไป มักถูกอ้างอิงในฐานะเป็นคำสั่งในการดูแลสุขภาพแบบก้าวหน้า หรือคำสั่งสำหรับการทำงานของแพทย์

         พินัยกรรมชีวิตไม่ควรจะสับสนกับพินัยกรรมทรัพย์สิน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องของการแบ่งทรัพย์สินและหลีกเลี่ยงการละเมิดพินัยกรรมนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะมีพินัยกรรมชีวิต โดยแจ้งให้กับบุคลากรด้านสุขภาพและครอบครัวของคุณทราบถึงความต้องการของคุณ เรื่องการดูแลรักษาในกรณีที่คุณไม่สามารถจะพูดหรือแสดงความต้องการนั้นได้ แต่ละประเทศอาจมีรายละเอียดเงื่อนไขของพินัยกรรมชีวิตแตกต่างกันไป บางทีคุณอาจจำเป็นต้องมีทนายความด้วย ทนายความที่ทำงานเรื่องพินัยกรรมทรัพย์สินบางคนจะจัดการทำพินัยกรรรมชีวิตรวมกับการทำพินัยกรรมทรัพย์สินไปด้วยเลย 

         พินัยกรรมชีวิตโดยทั่วไปจะอธิบายถึงเรื่องกระบวนการรักษาเพื่อยืดชีวิตออกไป โดยคุณในฐานะผู้แสดงเจตจำนงได้ระบุไว้แล้วว่า การดูแลรักษาแบบใดที่คุณต้องการหรือไม่ต้องการในสถานการณ์ที่คุณป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย*  หรืออยู่ในภาวะกลายเป็นผัก**  

         พินัยกรรมชีวิตจะมีผลต่อเมื่อคุณอยู่ในภาวะไร้ความสามารถในการตอบสนอง ซึ่งเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถบอกได้ว่า การรักษาแบบไหนที่คุณต้องการหรือไม่ต้องการ พินัยกรรมชีวิตส่วนใหญ่ ต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ประจำตัวของคุณหรือแพทย์ที่ทำการดูแลคุณอยู่ ในขณะที่คุณอยู่ในระยะสุดท้ายหรือไม่สามารถตอบสนองได้ก่อนจะนับว่าพินัยกรรมชีวิตมีผลบังคับใช้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่คุณหัวใจวายแต่ไม่มีภาวะที่เข้าสู่ระยะสุดท้าย (any terminal illness) หรือไม่ได้อยู่ในภาวะไม่ตอบสนองอย่างถาวร พินัยกรรมชีวิตจะไม่มีผล แม้ว่าในพินัยกรรมชีวิตจะระบุไว้ว่า คุณไม่ต้องการใช้วิธีการใดๆ ที่เป็นการยืดชีวิตออกไป

         พินัยกรรมชีวิตจะใช้ในลักษณะเดียว คือเมื่อการฟื้นคืนสู่สภาพปกติอย่างเต็มที่ของคุณสิ้นหวัง เป็นสถานการณ์ที่คุณไร้ความสามารถและไม่สามารถพูดแทนตนเองได้ แต่สภาพร่างกายของคุณยังไม่เลวร้ายถึงที่สุด พินัยกรรมชีวิตจึงจะมีผลบังคับใช้ คุณควรจะมีใบมอบฉันทะด้านสุขภาพ หรือตัวแทน ใบมอบฉันทะด้านสุขภาพจะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มอบอำนาจให้บุคคลมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาคุณ ในเวลาที่คุณอยู่ในภาวะไร้ความสามารถ บุคคลที่คุณกำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านการรักษาในนามของคุณเอง และถูกคาดหมายให้เป็นคนพิจารณาว่าอะไรที่คุณต้องการ เป็นเรื่องยากมากที่จะพูดกันในเรื่องดังกล่าว แต่คุณกำลังขอร้องใครบางคนให้รับภาระที่สำคัญมากสำหรับคุณ ให้เขาหรือเธอเรียนรู้ว่าคุณต้องการอะไรเพื่อบรรเทาภาระดังกล่าว เอกสารเหล่านั้นจะไม่สามารถช่วยให้คุณสบายขึ้นได้เลย หากไม่มีคนรู้เรื่องเกี่ยวกับมัน 

         คุณต้องพูดคุยกับแพทย์ของคุณและคนที่คุณตั้งให้เป็นตัวแทนเรื่องการดูแลสุขภาพของคุณ ลองหารือกับแพทย์ของคุณว่าการดูแลในระยะสุดท้ายที่คุณต้องการคืออะไร เขาหรือเธออาจจะช่วยตอบคำถามที่คุณมีในเรื่องการรักษาต่างๆ ได้ ทันทีที่คุณตัดสินใจได้ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการหรือไม่ต้องการ บอกความต้องการของคุณให้แพทย์และครอบครัวของคุณรู้ 

 

เก็บความจาก “What is living will” by Rebecca Berlin 
จาก http://www.alllaw.com/articles/wills_and_trusts/article7.asp

---

สถานการณ์ที่คุณป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย มาจากคำว่า Terminal ill เป็นคำที่เพิ่งนำมาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ หมายถึง อาการป่วยที่รักษาไม่ได้ และผู้ป่วยจะเสียชีวิตเมื่ออาการป่วยนั้นมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ อาจพิจารณาเพิ่มเติมได้ว่า เป็นภาวะที่ผู้ป่วยอาจไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เกินว่า ๖ เดือน อาการป่วยที่รักษาไม่ได้ และผู้ป่วยจะเสียชีวิตเมื่ออาการป่วยนั้นมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ อาจพิจารณาเพิ่มเติมได้ว่า เป็นภาวะที่ผู้ป่วยอาจไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เกินว่า ๖ เดือน เราเรียกผู้ป่วยในภาวะนี้ว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 

** ภาวะกลายเป็นผัก มาจากคำว่า Vegetative State หมายถึง อาการหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับสมองส่วนที่ควบคุมการคิดและบุคลิกภาพ ทำให้ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว แม้ว่าสภาพร่างกายภายนอกจะดูปกติดี ผู้ป่วยที่ตกอยู่ในภาวะเป็นผักนานเกินกว่า ๑ เดือน มักจะถูกพิจารณาว่า เป็น P.V.S. หรือ Persistent Vegetative State คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเป็นผักเรื้อรัง ส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสหายกลับมาเป็นปกติ ภาวะเป็นผักนี้ใกล้เคียงกับอาการป่วยในภาวะโคม่า (Coma State) ซึ่งผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเช่นกัน 

 

 

คอลัมน์: