Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ข้อแนะนำห้าประการ

-A +A

         ไม่นานมานี้ผมได้คิดค้นคำแนะนำ ๕ ประการ เพื่อเป็นคู่มือของผู้ที่กำลังจะตาย คำแนะนำดังกล่าวอาจจะเป็นประโยชน์กับมิติอื่นๆ ของชีวิต สามารถให้แรงบันดาลใจและเป็นแนวทางปฏิบัติได้ด้วย ผมมองว่ามันเป็นการปฏิบัติที่ไร้จุดสิ้นสุด ที่สามารถสำรวจและลงลึกไปได้เรื่อยๆ ทั้ง ๕ ประการนี้ไม่ได้เรียงตามลำดับ และไม่ได้เป็นทฤษฎีหรือแนวคิดใดๆ  คำแนะนำเหล่านี้ จะเข้าใจและทำให้เป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อนำมาใช้ในชีวิตและสื่อสารด้วยการกระทำ

 

ข้อแรก: น้อมรับทุกสิ่ง, ไม่ผลักไสสิ่งใด

การจะน้อมรับทุกสิ่งได้, เราไม่จำเป็นต้องชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น.

ไม่ใช่เรื่องของเราเลยที่จะชอบหรือไม่ชอบ.

หน้าที่ของเรามีแค่ว่าเชื่อมั่น, รับฟัง,

และใส่ใจกับความเปลี่ยนแปลงที่ประสบอยู่ในส่วนลึกที่สุดแล้ว,

เรากำลังถูกเรียกร้องให้พร้อมเปิดใจรับทุกสิ่งโดยไร้ความกลัว

 

นี้คือ การเดินทางไปสู่การค้นพบอย่างต่อเนื่องที่ทำให้เราเข้าสู่พรมแดนใหม่ๆ อยู่เสมอ

เราไม่รู้เลยว่ามันจะลงเอยอย่างไร

จำต้องใช้ความกล้าหาญและความยืดหยุ่น เราจะพบกับสมดุล

การเดินทางคือปริศนาที่เราจำต้องอยู่กับมันอย่างเปิดกว้าง กล้าเสี่ยง, และให้อภัยโดยไม่หยุดยั้ง

 

ข้อสอง: เข้าหาประสบการณ์ด้วยทั้งหมดของตัวเรา

ในการเยียวยาผู้อื่นและตัวเรา 

เราพร้อมเปิดรับทั้งความเบิกบานและความกลัว

ในการเยียวยาดังกล่าว เราดึงออกมาทั้งความเข้มแข็งและความสิ้นเรี่ยวสิ้นแรง

ความเจ็บปวด และความปรารถนาที่จะค้นพบจุดบรรจบระหว่างเรากับผู้อื่น

ความอบอุ่นแบบนักวิชาชีพไม่สามารถบำบัดผู้อื่นได้

สิ่งที่จะเอื้อให้เราช่วยเหลือผู้อื่นได้ มิใช่ความเชี่ยวชาญ 

แต่คือการสำรวจความทุกข์ของเราเอง

มันจะทำให้เราสัมผัสความเจ็บปวดของเพื่อนมนุษย์ด้วยจิตแห่งกรุณา

แทนที่จะกลัวหรือความสงสาร

เราต้องเชื้อเชิญทั้งหมดนี้ให้เข้ามา. 

เราไม่อาจร่วมเดินทางไปกับคนอื่นๆ ไปยังที่ที่เรายังไม่เคยสำรวจด้วยตัวเอง

การสำรวจชีวิตด้านในของเราต่างหากที่จะเป็นสะพานแห่งความเห็นใจ พาเราเข้าไปหาผู้อื่นได้.

 

ข้อสาม: อย่ารั้งรอ

ความอดทนนั้นต่างกับการรั้งรอ.

เมื่อเรารั้งรอ, เราจะเต็มไปด้วยความคาดหวัง

เราจะพลาดโอกาสที่ชั่วขณะนั้นกำลังมอบให้เรา.

เมื่อใดก็ตามที่เรามีความกังวลใจหรือวางแผนเกี่ยวกับอนาคต,

เราพลาดโอกาสมากมายที่อยู่ตรงหน้าเรา. 

การรอคอยชั่วขณะแห่งความตาย

จะทำให้เราพลาดชั่วขณะแห่งการดำรงอยู่อีกมากมายหลายขณะ, อย่าได้รั้งรอ.

หากมีใครบางคนที่คุณรัก, จงบอกให้เขารู้ว่าคุณรักเขา

จงเปิดโอกาสให้ความไม่แน่นอนอันเป็นธรรมดาของชีวิตนี้

บอกแก่คุณว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต และขอให้เข้าไปหามันอย่างสุดตัว.

 

ข้อสี่: รู้จักผ่อนพักท่ามกลางสรรพสิ่ง

เรามักคิดไปว่าจะผ่อนพักได้ต่อเมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว.

เหมือนกับเวลาเราไปเที่ยวในวันหยุดหรือตอนที่งานเราเสร็จ.

เราคิดว่าเราจะผ่อนพักอย่างสงบได้ก็ต่อเมื่อสิ่งแวดล้อมหรือเงื่อนไขชีวิตเปลี่ยนไป

แต่การจะพบความสงบท่ามกลางความสับสนวุ่นวายนั้นทำได้

เราจะสัมผัสได้เมื่อเราใส่ใจจดจ่อเต็มที่กับวินาทีนี้ หรือกิจกรรมนี้ โดยไม่วอกแวก 

ที่สำหรับผ่อนพักเยี่ยงนี้มีอยู่เสมอ. เพียงแต่เราใส่ใจกับมัน

มันเป็นอีกด้านหนึ่งของเราที่ไม่เคยเจ็บป่วย,

ไม่เกิดและไม่ตาย 

 

ข้อห้า: น้อมใจอยู่ในความไม่รู้

ข้อนี้หมายถึงใจที่เปิดกว้างและยอมรับ.

ใจที่ไม่ถูกจำกัดโดยแผนการ บทบาท หรือความคาดหวังใดๆ

ท่านอาจารย์ซูซูกิ อาจารย์เซนผู้ยิ่งใหญ่ มักชอบกล่าวว่า

“ในจิตของผู้เริ่มต้น มีความเป็นไปได้อันหลากหลาย,

แต่จิตของผู้เชี่ยวชาญมีความเป็นไปได้ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”

มองในแง่นี้เราจะตระหนักได้ว่า “ยิ่งไม่รู้ก็ยิ่งสนิทชิดเชื้อ”

หากเข้าใจเรื่องนี้ เราจะอยู่ชิดใกล้กับประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

และปล่อยให้สถานการณ์ต่างๆ บอกเราเองว่าควรทำอะไร

เราพึงฟังเสียงข้างในอย่างใส่ใจ,

รับรู้ถึงแรงกระตุ้นภายใน, เชื่อมั่นในความหยั่งรู้ของเรา.

เราพึงรู้จักมองด้วยด้วยสายตาที่สดใหม่เสมอ

---

โดย แฟรงค์ โอสตาเซกิ  ผู้ก่อตั้งสถาบัน สถาบันอาลัย

คอลัมน์: