Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

มหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ เปิดสอนปริญญาเอกด้านการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นแห่งแรกของโลก

-A +A

          มหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ (Lancaster University) เปิดรับนักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการดูแลแบบประคับประคองเป็นแห่งแรกของโลก จำนวน ๑๖ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ทำงานด้านการดูผู้ป่วยระยะสุดท้ายอยู่แล้ว ดร. ซาร่าห์ แบร์ลี่ (Sarah Brearley) ผู้อำนวยการหลักสูตรกล่าวว่า “หลักสูตรเปิดกว้างสำหรับผู้ปฏิบัติการในคลินิก ผู้จัดการ นักวิจัย หรือ คนทำงานด้านนโยบาย และไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มวิชาชีพใดๆ โดยนักศึกษาในปัจจุบันจะมาจากหลากหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือหน่วยงานด้านสุขภาพและสังคม” 

          อัลลิสัน แมครอบบี้ ทำงานเป็นเภสัชกรชุมชนและการดูแลแบบประคับประคองในชนบท เธอหวังว่า “จะได้ความรู้เพื่อศึกษาหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลในเรื่องยา”

          ส่วน เชอร์ลีย์ โอติส กรีน (Shirley Otis Green) เป็นนักสังคมสงเคราะห์ในสถานพยาบาลเพียงหนึ่งเดียวที่เข้ามาเรียน เธอยอมรับว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายยังต้องมีการศึกษาวิจัยอีกมาก และองค์ประกอบความเป็นนานาชาติของหลักสูตรมีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะจะทำให้ผู้เรียนซึมซับและสร้างความรู้จากฐานการปฏิบัติจริงจากทั่วโลก 

          “งานของฉันเน้นเรื่องการส่งเสริมคุณภาพชีวิต, การดูแลแบบประคับประคอง, การให้ความช่วยเหลือผู้สูญเสีย, พัฒนาตัวแบบการดูแลอาการต่างๆ อย่างบูรณาการ โดยวางแผนการดูแลร่วมกับครอบครัวหรือบุคคล และช่วยให้ครอบครัวสร้างทางเลือกสำหรับผู้เป็นที่รักอย่างที่จะไม่ทำให้พวกเขาเสียใจในภายหน้า ซึ่งจะสามารถลดความเครียด และสร้างความแตกต่างให้กับประสบการณ์แย่ๆ ของพวกเขาได้, เราคิดบวกได้”

Lancaster University
http://www.medicalnewstoday.com/articles/196399.php

สหราชอาณาจักรเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเรื่อง “คุณภาพของการตาย” 

          สหราชอาณาจักรขึ้นเป็นอันดับหนึ่งจากการสำรวจเพื่อจัดอันดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายทั่วโลก จัดทำโดยมูลนิธิเหลียน (Lien Foundation) ในสิงคโปร์ ภายใต้การกำกับดูแลของ Economist Intelligence Unit

          การจัดลำดับมีฐานมาจากงานของ ดร. เดวิด คลาร์ก ( David Clark) ผู้อำนวยการของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ วิทยาเขตดัมฟรี (University of Glasgow's Dumfries campus) ผู้ริเริ่มการสำรวจสภาพสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในนานาประเทศ 

          โดยการให้คะแนนแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. สภาพแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายขั้นพื้นฐาน ๒. การเข้าถึงง่าย ๓. ค่าใช้จ่าย และ ๔. คุณภาพ รวมถึงยังพิจารณาจากการลงทุนด้านสุขภาพ, ความตื่นตัวของสาธารณะ และการมียุทธศาสตร์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของรัฐบาล 

          ๑๐ อันดับแรก จากการสำรวจใน ๔๐ ประเทศ ปรากฏว่า สหราชอาณาจักรได้คะแนนมาเป็นลำดับที่หนึ่ง ตามด้วย ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ไอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, เยอรมนี, แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ส่วน ๔ อันดับสุดท้ายได้แก่ อินเดีย, อูกานดา, บราซิล และจีน โดยประเทศจีนขึ้นชื่อในเรื่องของการมีวัฒนธรรมที่ห้ามพูดถึงเรื่องความตาย ส่วนอินเดียขึ้นชื่อในเรื่องของการขาดแคลนยาระงับปวด

          สิ่งสำคัญจากรายงานที่ได้พบคือ การต่อสู้กับความรับรู้ของสังคมต่อเรื่องความตายและข้อห้ามทางวัฒนธรรม (เช่น การพูดถึงความตายเป็นเรื่องอัปมงคล) เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการดูแลแบบประคับประคอง, การถกเถียงของสาธารณะในเรื่องการุณยฆาตและการช่วยให้ตายของแพทย์ อาจกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว แต่ยังจำกัดอยู่ในวงผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนน้อย, ในทางปฏิบัติแล้ว การเข้าถึงยาได้ง่ายเป็นประเด็นสำคัญที่สุด, รัฐมักจะจำกัดการช่วยเหลือเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และให้ความสำคัญกับการดูแลแบบกระแสหลักก่อน, หากมีการดูแลแบบประคับประคองมากขึ้น อาจทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลดลง, การดูแลแบบประคับประคองไม่ต้องการสถาบันเพื่อการดูแล แต่จำเป็นต้องเพิ่มการอบรมให้มากขึ้น 

          ศาสตราจารย์คลาร์ก ยังได้เน้นว่า “สหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งในเรื่องดังกล่าว ทั้งอังกฤษและสก๊อตแลนด์ต่างมียุทธศาสตร์เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของตนเอง ซึ่งเน้นไปที่การยกระดับการดูแลจากให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การดูแลบนฐานของชุมชน เพื่อเป็นหลักประกันว่าทุกๆ คนที่ต้องการการดูแลระยะสุดท้ายจะได้รับการดูแล ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถตายจากไปอย่างสมภาคภูมิ” 

University of Glasgow
http://www.medicalnewstoday.com/articles/196149.php

ข้อสงสัยต่อหนุ่มชาวเบลเยี่ยม ผู้พ้นจากสภาวะเป็นผัก

          รอม เฮาเบน (Rom Houbens) หนุ่มชาวเบลเยี่ยมผู้ถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในสภาพโคม่านาน ๒๓ ปี โดยที่สมองยังทำงานอยู่ ก่อนจะมีการวินิจฉัยใหม่ว่าเขาไม่ได้อยู่ในสภาพโคม่า จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ถูกตั้งข้อสงสัยจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ อาทิ 

          อาเธอร์ แคปแลน (Arthur Caplan) ประธานศูนย์ศึกษาชีวจริยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ตั้งข้อสังเกตว่า “ถ้าเครื่องช่วยสื่อสาร (Facilitated Communication) มีส่วนในเรื่องนี้ และดูเหมือนว่าจะมีส่วนเสียด้วย, ผมจึงไม่เชื่อถือเรื่องดังกล่าว ผมไม่ได้บอกว่าทั้งหมดเป็นเรื่องลวงโลก, แต่ใครสักคนควรทำการตรวจสอบอย่างละเอียด ทุกๆ ครั้งที่มีเครื่องช่วยสื่อสารมาเกี่ยวข้องด้วย ควรระวังได้เลย” แคปแลนยังกล่าวต่อไปว่า “คุณนอนบนเตียงในโรงพยาบาลมา ๒๓ ปี โดยแทบจะไม่มีการกระตุ้นใด ๆ มันฟังดูเป็นเหตุเป็นผลและน่าเชื่อไหมละ? ต้องมีสิ่งผิดปกติแน่ๆ จากภาพที่เห็น ข้อความที่เขาพิมพ์มันเข้าขั้นบทกวีเลยนะนั่น สื่อความหมายชัดเจนมาก ราวกับว่ามีใครมาเตรียมคำพูดให้ ผมไม่ได้บอกว่าเป็นการหลอกลวง แต่อยากรู้เรื่องให้มากกว่านี้หน่อย” 

          เจมส์ แรนดิ (James Randi) นักจับผิดปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติผู้โด่งดัง ได้เคยจับผิดการใช้เครื่องช่วยสื่อสาร (Facilitated Communication) ในเด็กออทิสติก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ผมเชื่อว่าเขารับรู้ถึงความรู้สึกต่างๆ ได้ ด้วยผลตรวจจากเครื่อง MRI ที่นำมาแสดง แต่จากวิดีโอที่ได้ดู “คุณจะเห็นว่าผู้ดูแลนอกจากจะจับมือเขาไว้แล้ว ยังเอามือเขาไปจิ้มแป้นพิมพ์พร้อมกับมองมันไปด้วย เธอเป็นคนพิมพ์ข้อความให้เขา เขาเองไม่ได้ทำอะไรกับแป้นพิมพ์เลย” มูลนิธิของแรนดิยังเสนอให้ รอม เฮาเบน มาทำการทดสอบที่เชื่อถือได้ในการใช้เครื่องช่วยสื่อสาร โดยมีรางวัล ๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี รอม เฮาเบน ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นกรณีตัวอย่างของการวินิจฉัยที่ผิดพลาดอย่างไม่มีข้อสงสัยอยู่ 

http://www.wired.com/wiredscience/2009/11/houben-communication/#ixzz0vRj...

คอลัมน์:

ผู้เขียน: