Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ข่าวร้าย ไม่ร้ายได้ด้วยความเป็นสังฆะ

-A +A

           การทราบข่าวร้ายเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องประสบพบเจอข่าวร้ายที่ผู้ป่วยรับทราบมีด้วยกัน ๒กรณี คือ ตนกำลังเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่มีโอกาสเสียชีวิตเช่น เป็นโรคมะเร็ง ติดเชื้อเอชไอวีกับข่าวร้ายอีกแบบหนึ่งคือ การทราบข่าวว่าความเจ็บป่วยของตนนั้นได้ดำเนินมาถึงระยะท้าย ไม่อาจรักษาให้หายขาด และมีชีวิตเหลืออยู่ในระยะเวลาจำกัดอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน ในกระบวนการบอกข่าวร้ายหากผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือจากสังฆะใกล้ตัวผู้ป่วยที่ประกอบด้วยบุคลากรสุขภาพ ครอบครัว อาสาสมัคร รวมถึงตัวผู้ป่วยเอง ก็ย่อมทำให้การรับรู้ข่าวร้ายไม่ทำร้ายผู้ป่วยจนบาดเจ็บมากเกินไป

           การประเมินผู้รับทราบข่าวร้ายเป็นขั้นตอนแรกๆ ของกระบวนการบอกข่าวร้าย เช่น การประเมินว่า ควรบอกผู้ป่วยก่อนหรือญาติก่อน ควรเปิดเผยข้อมูลมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปแพทย์มักมีเวลาจำกัดในการพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์นี้พยาบาลให้ความช่วยเหลือด้านการประเมินผู้ป่วยได้มากเช่น การพูดคุยรับฟัง สังเกตลักษณะของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อค้นหา "คนที่ควรทราบข่าวร้ายเป็นคนแรก"การประเมินผู้รับทราบข่าวร้ายที่ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับทราบความจริงอย่างครบถ้วน เพื่อนำพาผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือเยียวยาในขั้นตอนต่อไป

           สำหรับแพทย์การบอกข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติ ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อแนะนำ การรักษาดูแลต่อสำคัญน้อยกว่าการบอกข่าวร้ายด้วยท่าทีที่นิ่มนวลใส่ใจเว้นจังหวะให้ผู้ป่วยหรือญาติได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิดหรือสิ่งที่วิตกกังวลนอกจากนี้ควรเตรียมบรรยากาศการบอกให้มีความเป็นส่วนตัว สงบ สบายไม่มีสิ่งรบกวน การบอกความจริงด้วยท่าทีเช่นนี้มีโอกาสช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนจากความสับสนอื้ออึงได้มาก

           เมื่อการบอกข่าวร้ายเสร็จสิ้นกระบวนการต่อมาคือช่วงเวลาแห่งการช่วยเหลือเยียวยาในขั้นตอนนี้หากสังฆะรอบตัวผู้ป่วยโดยเฉพาะครอบครัว ผู้ใกล้ชิดให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธีก็จะช่วยเยียวยาจิตใจผู้ป่วยได้มากเช่น การให้กำลังใจด้วยความมั่นคงเข้มแข็งการรับฟังและยอมรับปฏิกิริยาของผู้ป่วยในทุกๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความสับสน โกรธ เศร้า ลังเลใจ เสียดาย เสียใจ กลัว ฯลฯ นอกจากนี้ผู้ดูแลจะช่วยให้ผู้ป่วยอุ่นใจมากขึ้นด้วยการเป็นเพื่อนที่คอยอยู่เคียงข้างและพร้อมให้ความช่วยเหลือ

           ผู้ป่วยคนหนึ่งเล่าถึงเหตุการณ์วันที่เพื่อนร่วมงานกว่าร้อยคนต่างก็รู้ข่าวการป่วยเป็นมะเร็งของเธอพวกเขาต่างก็เข้ามากอด ปลอบใจ ให้กำลังใจ แต่ด้วยความเสียใจ ร้องไห้คร่ำครวญเธอสะท้อนว่ามุมหนึ่งก็ทำให้รู้ว่ามีเพื่อนที่รักเธอมากมายเพียงใด แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้เธอเสียกำลังใจ ใจหาย เธอสะท้อนว่าเธอเศร้ามากกว่าขณะที่เธอรับรู้ข่าวร้ายเองเสียด้วยซ้ำดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ให้การเยียวยาผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นพยาบาล อาสาสมัคร หรือครอบครัวต้องให้การช่วยเหลือด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง มีจิตใจที่มั่นคงขณะให้กำลังใจผู้ป่วย

           ญาติบางคนอาจเลือกปิดบังความจริงแก่ผู้ป่วยเพราะกลัวว่าผู้ป่วยจะทรุดอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับผู้ป่วยบางคนที่ไม่กังวลกับความตายของตนเท่ากับกังวลว่าคนใกล้ชิดครอบครัวของเธอจะรับข่าวร้ายและความสูญเสียของเธอได้หรือไม่ผู้ป่วยบางคนเลือกที่จะปิดบังความจริงแก่ครอบครัวเป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายปีสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ให้การดูแลสามารถช่วยเหลือด้วยการตั้งคำถาม ชวนมองให้เห็นความจริงอีกมุมหนึ่งที่ผู้ปิดบังข่าวร้ายอาจมองข้าม เช่น การปิดบังจะส่งผลต่อการรับการรักษาที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับในเวลาต่อมา ความเสี่ยงที่ผู้ป่วยหรือญาติจะรู้ความจริงจากแหล่งอื่นความยากลำบากในการปิดบังความจริงไปเรื่อยๆอย่างไรก็ตาม ผู้ให้การช่วยเหลือควรทำความเข้าใจและเสนอแนะมากกว่าบังคับผู้ป่วยหรือญาติเปิดเผยความจริงเท่านั้น

           สังฆะรอบตัวผู้ป่วยพึงทำความเข้าใจว่าการบอกข่าวร้ายไม่มีสูตรสำเร็จและปฏิกิริยาด้านลบของผู้ป่วยเป็นสิ่งปกติธรรมดาและเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ผู้ป่วยและผู้ให้การดูแลต้องเดินทางมาถึงและก้าวข้ามด้วยความนุ่มนวลหากแพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร ครอบครัว และผู้ป่วยมีท่าทีต่อข่าวร้ายที่ถูกต้อง มีสติ เห็นอกเห็นใจและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

คอลัมน์: