Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

แม้ตาย ก็ยังบทเรียน: ความรู้จากการละสังขารของหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

-A +A

 

luangpho

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าพระอาจารย์ชื่อดังในประเทศไทยหลายรูป มักถูกยื้อชีวิต-ยืดความตายในช่วงท้ายของท่าน หลายรูปจากไปท่ามกลางอุปกรณ์ช่วยชีวิตในบรรยากาศที่ไม่สงบ เช่นห้อง ไอซียู หรือห้องฉุกเฉิน ทั้งนี้เพราะท่านมักมีลูกศิษย์ผู้มีบารมีมาก สามารถเข้าถึงการแพทย์ขั้นสูง ผู้ดูแลเหล่านั้นมักต้องการให้ท่านมีชีวิตอยู่ยืนยาวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ถึงกระนั้น หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ พระอาจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดรูปหนึ่งของภาคอีสาน ก็สามารถก้าวผ่านอุปสรรคในการตายอย่างสงบข้อนี้ได้อย่างน่าสนใจ การจากไปของท่านเมื่อเดือน สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมาสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องการเผชิญความตายอย่างสงบในสังคมไทย มีการจัดเวทีถอดบทเรียนจากการดูแลท่านในเวลาต่อมา คำถามคือ “ทำไมท่านจึงสามารถจากไปอย่างสงบได้ ผิดกับเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ?”

ความรู้จากการดูแลถูกรวบรวมจัดการเรียบร้อยด้วยดีในเวลาต่อมา ดังนั้น เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เครือข่ายพุทธิกาและสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย (THAPs) จึงร่วมกันจัดเวทีสาธารณะ “คืนสู่ธรรมชาติ วิถีสู่การตายอย่างสงบ บทเรียนจากการดูแลหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ” ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ

ในเวทีดังกล่าวมีผู้ร่วมพูดคุยบทเรียนต่างๆ วิทยากรประกอบด้วยพระผู้ดูแล ทีมแพทย์พยาบาล และประชาชน เพื่อเสนอบทเรียนแก่สาธารณะว่า กรณีการจากไปอย่างสงบของหลวงพ่อคำเขียนเกิดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ตอบคำถามที่ว่า ทำไมหลวงพ่อคำเขียนสามารถละสังขารได้อย่างสงบ งดงาม

1. ท่าทีที่อ่อนโยนต่อความตาย หลวงพ่อคำเขียนเป็นพระรูปหนึ่งที่ฝึกฝนการเจริญสติ จนรู้เท่าทันต่อความจริงของชีวิตและธรรมชาติ คำสอนของท่านคือ “ไม่เป็นอะไรกับอะไร” นั่นทำให้ท่านดูเบิกบานแม้จะเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร ความว่างจาก “ความเป็นอะไรต่ออะไร” ทำให้ท่านว่างจากความตายด้วย

ท่านปฏิเสธที่จะรักษาตัวด้วยการแพทย์สมัยใหม่ ท่านเลือกที่จะรักษาตัว ใช้ชีวิตอยู่ที่วัด อยู่ท่ามกลางธรรมชาติและลูกศิษย์อันเป็นที่รัก และโอบรับความตายด้วยใจสงบ คำที่ท่านเขียนครั้งสุดท้ายคือ “พวกเรา ขอให้หลวงพ่อตาย...”

2. การแสดงเจตนาที่ชัดเจนในการเลือกวิธีการรักษา หลวงพ่อเป็นพระรูปหนึ่งที่ผ่านกระบวนการดูแลตัวเองล่วงหน้า  (Advance Care Planning) และทำพินัยกรรมชีวิต (Living will) ได้อย่างครบถ้วน ท่านเขียนเอกสารแสดงเจตนาอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรในระหว่างที่ท่านเจ็บป่วย เจตนาที่สำคัญของท่านได้แก่ ขอให้ท่านได้กลับวัด การปฏิเสธการยื้อชีวิต และการจัดการเกี่ยวกับศพ เครื่องอัฐบริขาร และลิขสิทธิ์คำสอนของท่าน

เจตนาของท่านก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไปในหมู่ลูกศิษย์และชาวบ้าน ความปรารถนาของท่านจึงได้รับความคุ้มครองโดยทีมผู้ดูแลและบุคลากรการแพทย์ ตลอดกระบวนการการรักษา

3. ทีมผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจ หลวงพ่อมีลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ตลอดจนทีมแพทย์พยาบาลที่ปาวารณาตัวผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมให้การดูแล จำนวนที่พอเหมาะคือ 4-5 คน ช่วยถวายการรักษา คัดเลือกวิธีการดูแลที่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของท่าน ตลอดจนเป็นช่วยอธิบายอาการของหลวงพ่อ จัดคิวการเยี่ยมให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของท่าน ทีมดูแลดังกล่าวใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ช่วยให้การดูแลเป็นไปอย่างฉับไว ทันต่อสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปรวดเร็ว

4. ความพร้อมของระบบบริการดูแลที่บ้านของหน่วย Palliative Care ในท้องถิ่น วัดภูเขาทองและวัดป่าสุคะโต ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อใช้ชีวิตในช่วงท้าย อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งอยู่ในเขตที่โรงพยาบาลมีหน่วยบริการ Palliative Care ที่ความเข้มแข้ง มีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ เข้าใจเจตนารมย์ของหลวงพ่อ มีระบบสนับสนุนอุปกรณ์การเยี่ยมบ้าน ตลอดจนทีมพระผู้ดูแลก็เข้าใจแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง

องค์กระกอบสี่ประการข้างต้น จึงช่วยให้หลวงพ่อคำเขียนได้ใช้ชีวิตช่วงท้ายที่วัดตามความปรารถนาและละสังขารอย่างสงบ ความตายของท่านยังเป็นธรรมสอนญาติโยมให้ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท อีกทั้งย้ำเตือนว่าชีวิตที่ดีเชื่อมโยงกับการตายดีอย่างแนบแน่น การตายดีเป็นไปได้จริงก็ด้วยการเจริญสติรู้เท่าทันความจริงของชีวิต และการเข้าถึงระบบบริการการดูแลแบบประคับประคอง (Palliaitve care) แนวทางดังกล่าวมีฐานคิดที่มิตรกับความความตาย และเคารพเจตนารมย์ของผู้ป่วย สำหรับประเทศไทย การดูแลแบบประคับประคองอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เกิดขึ้นเข้มแข็ง เติบโตควบคู่ไปกับระบบสุขภาพของประเทศในปัจจุบัน

อ่านบทความภาษาอังกฤษได้ที่ eHospice 

 

ที่มา: คอลัมน์มองย้อนศร หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2558

 

ที่มา:

คอลัมน์:

frontpage: