Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ความตาย : ธรรมดา

-A +A

            บทเรียนจากการจัดการความตายของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุที่ทำให้เห็นว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ถือเป็นจุดเปลี่ยนให้คุณอรศรี งามวิทยาพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หันกลับมามองอีกด้านของความตาย จากที่เคยผลักไสก็กลับมาใกล้ชิดและน้อมนำเข้ามาสู่วิถีชีวิตอย่างแนบเนียน

            “เดิมรู้สึกว่าความตายเป็นของที่ไม่น่าพิสมัย เหมือนการพลัดพราก การจากกัน มีแต่ด้านลบ เป็นเรื่องที่ไม่พึงมานั่งคิด คือเราไม่เคยเรียนรู้เรื่องพวกนี้ เราไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมแบบคนไทยโบราณ คนจีนถือมากว่าความตายเป็นเรื่องอัปมงคลอย่างยิ่ง ห้ามพูด แม้กระทั่งแตงโมซึ่งชื่อทางจีนแต้จิ๋วเรียกว่าซีกวย ซีที่เสียงเหมือนซี้ที่แปลว่าตาย แม่ยังห้ามเอาเข้าบ้าน หรือการแต่งชุดดำ เขาถือมาก เราก็โตมาอย่างนี้ 

            “พอมาเจอท่านพุทธทาสได้เรียนรู้ตอนที่มาสนใจธรรมะท่าน แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เจาะไปเรื่องความตายจนกระทั่งท่านอาพาธ ก็เริ่มสนใจวิธีการจัดการความตายของท่าน ท่านทำเหมือนกับเป็นเรื่องธรรมด๊า...ธรรมดา และสอดคล้องกับธรรมะที่เราเรียนรู้แต่เราไม่ได้จับไปโยงถึงเรื่องความตาย พอมาดูวิธีการจัดการความตายของท่านเพราะว่าเราได้มีโอกาสเข้าไปทำงานดูแลช่วงที่เขาพาท่านขึ้นมาที่โรงพยาบาลศิริราช เราเข้าไปช่วยฝ่ายอุบาสิกาดูแลเรื่องนี้ ได้เจอการปะทะกันระหว่างความคิดแบบพาหนีความตาย กับกลุ่มที่จะเผชิญความตายอย่างสงบ เราอยู่ฝ่ายที่เผชิญความตายอย่างสงบเลยได้เรียนรู้เรื่องตรงนี้

            “หลังจากนั้นมาก็เริ่มรู้สึกว่าความตายเป็นสิ่งที่เราต้องพยายามทำให้มันอยู่ในวิถีชีวิตเรามากขึ้น จากนั้นมาก็พยายามเจริญมรณสติ เมื่อก่อนเวลาไปงานศพเราก็ไม่ได้ฟังเพื่อเจริญสติ ฟังพระสวดก็นั่งคิดเรื่องอื่น แต่พอเราเริ่มเรียนรู้เรื่องความตายก็รู้ว่าเวลาไปงานศพเป็นโอกาสแห่งการเจริญมรณสติ เวลาไปกราบศพเราก็จะกราบแล้วก็ขอบคุณที่เป็นบทเรียนให้เรา ขอให้เขาไปสู่สุคติ เราก็จะนั่งฟังพระสวดเพราะเราเข้าใจเรื่องพิธีกรรมมากขึ้น เข้าใจสิ่งที่สวดมากขึ้น เรียกว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ 

            “และพอมีโอกาสทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท เวลาเราลงพื้นที่เราก็จะไปเจอวัฒนธรรมการตายแบบพื้นบ้าน เราเรียนรู้จากภาคอิสาน เมื่อก่อนเราก็ไม่เข้าใจ เวลาเขาไปงานศพทุกคนแต่งสีสันมาหมด แล้วก็ถือต้นไม้มาแล้วก็มาสนุกสนานเฮฮา จนกระทั่งเรารู้ถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา และจุดมุ่งหมายก็เพื่อทำให้คนที่มีชีวิตอยู่จัดการกับความตายได้อย่างเป็นธรรมชาติ คือธรรมดาต้องมีเศร้าโศกอยู่แล้ว ทำอย่างไรที่เขาจะผ่านช่วงเศร้าโศกและยอมรับความตายได้ ประเพณีการเปิดฝาโลงเขาทำเพื่ออะไร เราก็เรียนรู้มากขึ้น เราก็รู้สึกว่าความตายแต่ก่อนเป็นเรื่องของสิ่งที่ถูกจัดการ เพราะฉะนั้นก็เลยมานั่งนึก เอ๊ะ...เราเคยฝึกหัดเรื่องพวกนี้ไหม 

            “นอกจากนี้ยังได้จากการอ่านหนังสือของพระยาอนุมานราชธนที่พูดถึงเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ลัทธิธรรมเนียมพื้นบ้าน เราก็จะพบว่าคนไทยเขาจัดการกับความตายเป็นเรื่องธรรมดาที่เป็นรากฐานพุทธศาสนา และอีกส่วนคือได้จากท่านอาจารย์พุทธทาสที่พูดว่าคนภาคใต้เขาเตรียมตัวตายอย่างไร ซึ่งท่านอาจารย์ก็เรียนรู้จากโยมแม่ท่าน บางทีก็มาอ่านหนังสือของท่านติช นัท ฮันห์ ท่านสอนว่าตื่นเช้าขึ้นมาก็ให้ดีใจว่าเรายังมีอีก ๒๔ ชั่วโมง ต้องใช้ให้คุ้มเพราะไม่รู่ว่าเราจะมีอีกหรือเปล่า ก็เป็นวิธีเจริญมรณสติอีกแบบหนึ่ง

            “อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ค่อนข้างจะถี่คือเราเป็นคนบ้างาน ก็เคยได้รับการเตือนจากกัลยาณมิตรรุ่นพี่นานมากแล้ว เขาบอกว่าให้เราคิดถึงความตายว่า ถ้าเกิดตายไปแล้วคนอื่นเขาก็ทำได้ อย่าอีโก้มาก ให้ฝึกปล่อยวาง แต่การที่เราจะปล่อยวางงานตรงนั้นได้เราก็ต้องเจริญมรณสติว่าทุกอย่างมีความไม่เที่ยง เราพร้อมที่จะตายเมื่อใดก็ได้ ความบ้างานของเราสะท้อนว่าเราคิดว่าเราไม่ตายไง เรายังต้องอยู่เพื่อที่จะทำมันต่อไป เมื่อไหร่เราปล่อยวางได้ก็แสดงว่าเรายอมรับความเป็นอนิจจังว่างานอาจจะไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นก็เอาเรื่องงานมาเป็นตัวคิดว่ามันอาจจะไม่สำเร็จเพราะคุณอาจจะต้องตายไปตอนนี้ คือเวลาที่มีงานเยอะๆ ก็จะเตือนตัวเองว่าอย่าบ้างานมากนัก เพราะเราไม่รู้ว่าจะตายวันตายพรุ่ง เราใช้ชีวิตทำส่วนอื่นแล้วหรือยัง ให้เราจัดสมดุลในชีวิตอื่นๆ ด้วย 

            “อีกอย่างหนึ่งสังขารตัวเราเองนี่ก็ได้เรียนรู้เยอะที่สุดเลย แต่ก่อนจะรู้สึกว่าร่างกายเราทำอะไรได้ดังใจ คือสิ่งที่เราเคยฟังจากท่านอาจารย์พุทธทาสจะย้อนกลับมาเพราะว่าเราเคยบรรณาธิการงานหนังสือของท่าน เราเคยคุยกับพระ เราจะรู้กระบวนการเวลาคนที่มันแก่ก็คือเข้าใกล้ความตาย เราควรมีท่าทีวิธีคิดแบบไหนอย่างไร วิธีคิดท่าทีนี่ก็คือวิธีการเจริญมรณสติว่า อะไรที่เคยเดินเหินได้สะดวกก็เริ่มไม่สะดวก เวลามองกระจก โอ้ นี่หรือฉัน ครั้งหนึ่งหน้าตาเคยดูดีกว่านี้นะ เดี๋ยวนี้ทำไมดูโทรมอย่างนี้ ก็เพราะว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง วันหนึ่งก็จะกลายเป็นเน่าเปื่อยผุพัง คำถามคือ แล้วเราเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง ปัญหาคือไม่ใช่แค่เจริญมรณสติไง แต่ต้องกลับมาถามว่าแล้วเราพร้อมไหมถ้าหากเราจะต้องไปแบบปุบปับ เราเป็นห่วงอะไรไหม แล้วก็คิดว่าถ้าเกิดวันนี้เราออกไปแล้วเราไปเจอสิ่งที่เฉียดตาย หรือถ้าไม่เฉียดแต่ตายเลย เราสามารถทำแบบที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพูดได้ไหมว่ามันเป็นบัญชีสุดท้าย เราฝึกมาดีพอที่เราจะตั้งสติเพื่อไปเกิดในที่ชอบๆ ได้จริงหรือเปล่า 

            “แต่ถ้าถามว่าตอนนี้พร้อมไหม ตอบยากจนกว่าจะต้องเฉียดตายอีกสักครั้งสองครั้ง แต่ตอนเจ็บป่วยก็ได้คิดเยอะเหมือนกัน แล้วก็คิดกับคนที่ใกล้ตัวเรา อย่างพ่อนี่ไปอย่างปุบปับเลยนะ ช่วงน้ำท่วมปี ๒๕๕๔ ซึ่งพ่อให้สติกับเราเยอะ เพราะพ่อเป็นคนที่ไม่เชื่อศาสนาไม่เชื่ออะไรทั้งสิ้นเลย แต่เวลาเขาเจ็บป่วยเขาเป็นคนที่ไม่โวยวาย ทั้งๆ ที่เขาต้องอยู่ติดเตียง คนที่มาดูแลเขา happy ทุกคนเลย เขาบอกทำไมอากงเป็นคนที่ไม่โวยวาย ให้ทำอะไรก็ทำ ให้ความร่วมมือดีมาก เราก็เลยรู้ว่าบางทีเราอาจต้องเรียนรู้จากพ่อเราว่า ทำไมเขาถึงรับมือกับความตายได้แบบนี้ แล้วเขาก็ให้อนุสติกับเรา เขาไม่โวยวายเหมือนกับเขาปลงตก คือพ่อเป็นคนที่ไม่เคยก่อเวรก่อกรรม เป็นคนที่ศีลบริสุทธิ์ ไม่เคยเบียดเบียน แล้วก็ทำบุญในแบบของเขา เพราะฉะนั้นวันที่เขาไปเขาก็ไปอย่างสบายโดยที่กินข้าวเสร็จ กินของว่างที่เขาชอบ แล้วเขาก็หมดลมไปเลย โดยที่ไม่ทุรนทุราย ไม่อะไรเลย ทำให้คิดว่าเราจะสามารถตายได้อย่างพ่อหรือเปล่า

            “สิ่งที่ทำบ่อยหลังจากพ่อตายคือมีสติ ในแง่ว่าชีวิตจะต้องอยู่กับปัจจุบัน เพราะพ่อเป็นบทเรียน คือพ่อไม่ค่อยคิดเรื่องข้างหน้าว่าจะเป็นอะไร พ่อเขาอยู่กับปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราเองเราอยู่กับปัจจุบันหรือเปล่า เราอยู่กับมันได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าเรามีชีวิตอยู่กับปัจจุบันได้ เวลาความตายมาถึงเราก็พร้อมที่จะรับมือมันได้ง่ายขึ้นเพราะว่ามันมาอยู่ข้างหน้า เราต้องมาทวนตัวเองว่าอานาปานสติเราเข้มแข็งหรือเปล่า เราตามทันจิตเราไหม ก็ต้องมาเรียนรู้เรื่องพวกนี้ว่า ในกรณีที่จะต้องเจอความตาย จะทำอย่างไรให้จิตสามารถอยู่กับสภาวะที่เรียกว่าเปลี่ยนผ่านความตายได้เป็นอย่างดี”

 

 

 

คอลัมน์:

ผู้เขียน:

คำสำคัญ: