Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

สธ.สั่งระงับการใช้คำแนะนำ แต่ สช.ยันสิทธิไม่ยื้อตายยังมีผลบังคับใช้อยู่

-A +A

           ๘ กันยายน ๒๕๕๔ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในหนังสือ สธ. 0201.047.6/ว 427 เรื่อง ขอระงับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ส่งถึงอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน โดยระบุว่า 

           “กระทรวงศึกษาธิการ (สธ.) ได้พิจารณาเรื่องการจัดทำคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธาณสุข เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับ มาตรา ๑๒ แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ เห็นว่ามีประเด็นสำคัญในข้อกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติมและอาจมีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดและเพื่อประโยชน์ต่อการสาธารณสุข จึงขอระงับการใช้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ซึ่ง สธ.จะดำเนินการพิจารณาประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง” 

 

           ทางด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของกระทรวงสาธารณสุข สช.มิได้มีส่วนในการให้ความเห็น หรือได้รับการหารือจาก สธ.แต่อย่างใด 

           “สช.ขอยืนยันว่า ขณะนี้กฎกระทรวงและแนวปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ยังมีผลใช้บังคับอยู่ สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศ ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการได้ และเชื่อมั่นว่าสิทธิตามมาตรา ๑๒ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายแพทย์พยาบาล ญาติ และผู้ป่วย ... ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอันดีจากเครือข่ายประชาชนและภาควิชาชีพ อย่างเช่นเครือข่ายวิชาชีพพยาบาล ก็เพิ่งมีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเครือข่ายวิชาชีพพยาบาลกับ สช. ในการส่งเสริมสิทธิด้านสุขภาพตามมาตรา ๑๒ ไปเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๔” นพ.อำพลกล่าว

-------

จาก คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ ๑๑ และ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔

 

คอลัมน์:

ผู้เขียน: