Error message

Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

เรื่องเล่าจากคนเคยตาย

-A +A

 

คุณวิเชียร

 

เราอาจจะเคยได้ยินคนคุยหยอกล้อกันเล่นด้วยประโยคที่ว่า  “ไม่เคยตายหรือ” แต่ถ้าประโยคดังกล่าวนี้ นำไปพูดกับคุณวิเชียร เจษฏากานต์ เขาอาจจะหันกลับมาบอกกับเราว่า เคย...ผมเคยตายมาแล้ว

ปัจจุบันคุณวิเชียรทำอาชีพเป็นเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดราชบุรี และอีกส่วนหนึ่งของชีวิต ทำหน้าที่เป็นรองประธาน มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์, กรรมการเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ,สมาชิกสภาผู้ชมของไทยพีบีเอส รวมถึงเป็น ตัวแทนของเครือข่ายนักธุรกิจไปร่วมประชุมเป็นภาคีขององค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น นั่นคือชีวิตปัจจุบันหลังจากได้มีโอกาสผ่านความตายเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว

คุณวิเชียรพบกับเราด้วยใบหน้าสดใสยิ้มแย้มตลอดเวลาที่พูดคุยกัน แววตาแห่งความมุ่งมั่นและศรัทธาฉายให้เราได้เห็นทุกครั้งที่พูดถึงชีวิตที่เหลืออยู่ เพื่อได้ใช้เวลาอันมีค่านี้ทำประโยชน์ที่เขาบอกกับเราว่า ชีวิตที่เหลืออยู่ต้องทำให้ดีที่สุด แต่คำว่าดีที่สุดไม่ใช่เพื่อตัวเองอีกต่อไป เพราะของตัวเองนั้นจบไปแล้ว ดีที่สุดที่จะเป็นคือ ดีสำหรับคนที่อยู่ข้างหลัง

คุณวิเชียรประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และหยุดหายใจไปช่วงเวลาหนึ่ง แต่ความตายกลับให้โอกาสเขาอีกครั้ง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง

แม้ปัจจุบันเขาจะต้องใช้หัวกระโหลกเทียม ซึ่งจะไม่มีพังผืดทำให้การยุบตัวของสมองเป็นไปได้ง่ายเมื่อยืนตัวตรงอยู่เป็นเวลานาน ๆ ของเหลวก็จะยุบตัวลง  ทำให้ปวดหัวได้ง่ายเมื่อนอนดึกหรือยืนตัวตรงนานๆ แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานเพื่อสังคม คุณวิเชียรเล่าด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า ก็ถ้าปวดหัว ก็แก้อาการด้วยการก้มศีรษะลง เอาเท้าชี้ฟ้า

มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ที่คุณวิเชียรเป็นรองประธาน มีภารกิจในการอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติ เขาเล่าว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้ทำลาย แต่ความตายเปลี่ยนให้เขากลับมาและกลายเป็นผู้รักษา เพื่อเก็บความงดงามเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไป 

เมื่อกฏหมายมีช่องโหว่ จิตสำนึกเท่านั้นที่จะช่วยรักษาป่าและธรรมชาติไว้ได้ หลักการคือ ทำให้ชาวบ้านและเยาวชนเห็นคุณค่าของป่าและธรรมชาติที่ดี ให้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่า คุณวิเชียรทำงานด้วยการเล่าเรื่องราวว่ากลไกของป่าและธรรมชาติทำงานอย่างไร หากมนุษย์ทำลายกลไกเหล่านี้ ชีวิตเราที่เกี่ยวโยงกับสิ่งเหล่านี้จะลำบากอย่างไร เมื่อชาวบ้านได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เห็นความงามของธรรมชาติ  ผู้คนจะมีจิตสำนึกรักธรรมชาติ การลุกขึ้นมารักษาและปกป้องจะเกิดขึ้นตามมาได้ไม่ยาก

 

สำหรับคนเคยตาย มองชีวิตว่าเป็นไปเพื่ออะไร ? 

คุณวิเชียรให้แง่มุมที่น่าสนใจว่า เมื่อเราเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ มนุษย์มีภารกิจสำคัญร่วมกันที่จะทำอย่างไรให้สิ่งมีชีวิตบนดาวพระเคราะห์นี้ อยู่ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์และสมดุลย์ แต่กว่ามนุษย์จะมีปัญญาถึงขั้นนั้นก็ต้องใช้เวลานาน มนุษย์เราจึงเรียนรู้รุ่นต่อรุ่นมาเรื่อยๆ จนเกิดศาสนาขึ้นมาเพื่อสั่งสอน ให้เราอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างยั่งยืน และ มีความสุข แล้วสุดท้ายก็สอนให้เราอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างยั่งยืน ไม่เบียดเบียนกัน  มีจิตใจที่ดีต่อกัน ซึ่งนี่คือสิ่งที่คุณวิเชียร มองว่าเป็นเป้าหมายทั้งของโลก หรือ ดาวพระเคราะห์ทุกดวงที่ต้องไปสู่เส้นทางนี้ ถ้าสิ่งมีชีวิตบนดาวพระเคราะห์ใด ๆ  ไม่ไปในเส้นทางนี้คือ มีโอกาสฆ่าก็ฆ่า มีโอกาสกำจัดก็กำจัด ดวงดาวนั้นสุดท้ายก็จะแตกสลาย ไม่ใช่ดวงดาวแตกในเชิงกายภาพ  คำว่าแตกสลายคือ ระบบนิเวศน์พังทลาย ก็ไม่มีอะไรอยู่ได้ เพราะว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสรรพชีวิตต้องเกื้อกูลกัน 

 

ความตายเป็นอย่างไร ได้ไปท่องเที่ยวแดนนรก สวรรค์ บ้างหรือไม่ ? 

คุณวิเชียรเล่าว่า ไม่มีอะไรแบบนั้นเลย เป็นเหมือนวิทยุที่ปิดสวิทซ์  นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณวิเชียรบอกกับเราว่า ก็ทำให้ไม่กลัวที่จะต้องตายอีก เพราะเคยตายแล้วแบบนี้ 

คนเคยตาย ยังบอกกับเราต่อว่า “ความตายมันง่ายดาย ความตายมันธรรมดา ความตายเป็นกลไกธรรมชาติที่เราเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าโลกใดโลกหนึ่ง หรือสิ่งมีชีวิตใดสิ่งมีชีวิตหนึ่งไม่มีความตาย นั่นแหละจะเป็นปัญหาต่อสังคมนั้น จะเป็นปัญหาต่อดาวพระเคราะห์ดวงนั้น ถ้าเราไม่ตาย”

อย่างไรเราก็ต้องตาย แล้วเราจะทำอะไรก่อนตายกันดีล่ะ ?

คุณวิเชียร ผู้ชายที่เคยตายมาแล้วบอกกับเราว่า ใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิต สร้างประวัติศาสตร์ดีๆให้กับชีวิตตัวเอง เมื่อวันสุดท้ายของชีวิตมาถึง ย้อนมองประวัติศาสตร์ที่ดีของชีวิตตัวเองแล้ว ก็จะจากไปอย่างยิ้มได้  ไม่จำเป็นต้องรอให้มีลาภ ยศ แล้วค่อยทำ ให้ดูตัวอย่างปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ ในสังคม เขาก็สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ แค่ก้าวเล็ก ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ชีวิตตัวเอง ทำได้เลย!

 

ที่มา:

คอลัมน์: