Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

สร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายและการตายดี (2)

-A +A


>> ชมภาพกิจกรรม <<

สร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายและการตายดี (2)
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559

         การประชุมวันที่สอง จะเน้นไปที่ระบบบริการและบุคลากรสาธารณสุขโดยตรง

(1) “ระบบบริการแบบประคับประคอง (Best practice)”

         ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา งานดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้ขยายตัวไปยังโรงพยาบาลต่างๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ จนเกิดการพัฒนาระบบบริการแบบประคับประคองอย่างก้าวกระโดดในหลายแห่ง ผู้จัดประชุมจึงนำตัวอย่างการทำงานที่ประสบความสำเร็จจากเครือข่ายในแต่ละระดับ ไล่แต่โรงพยาบาลศูนย์ (ขนาดใหญ่) โรงพยาบาลทั่วไป (ขนาดกลาง) โรงพยาบาลชุมชน (ขนาดเล็ก) รวมถึงการวางระบบยาของเภสัชกร มาบอกเล่า และถอดบทเรียนปัจจัยของความสำเร็จ รวมถึงสิ่งที่ยังเป็นเรื่องท้าทายในปัจจุบัน 

         พญ.ปิยะฉัตร วรรณาสุนทรไชย และพว.พวงพยอม จุลพันธ์ จาก รพ.อุดรธานี (โรงพยาบาลศูนย์) เล่าว่า ผู้ป่วยมะเร็งชาวอีสานร้อยละ 80 ล้วนอยากกลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามความเชื่อทางวัฒนธรรม แต่มีปัญหาเรื่องการดูแลอาการปวดเพราะโรงพยาบาลไม่มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แพทย์ไม่กล้าวินิจฉัยว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะท้าย ขาดเครื่องมือ และไม่มีคนให้คำปรึกษา ก่อนจะมีการพัฒนาระบบโดยแพทย์ เภสัช พยาบาล เพียง 3 คน เมื่อปี 2554 เริ่มจากการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ก่อนจะขยายไปสู่กลุ่มโรคอื่นๆ จนมีระบบการให้คำปรึกษาครบทุกวันในปัจจุบัน มีการเยี่ยมบ้าน มีการจัดการความปวด มีแพทย์ทางเลือกมาดูแลผู้ป่วยทางกาย และมีพระเป็นจิตอาสาดูแลมิติทางใจ ทางจิตวิญญาณ ตลอดจนมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนเกือบทั่วจังหวัด และที่สำคัญคือ มีการพัฒนาระบบจัดการยาในอุดรธานีจนเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ  

         พว.นภาพร ตั้งพูลผลวณิชย์ กล่าวว่า รพ.ยโสธร (โรงพยาบาลทั่วไป) เริ่มจากการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะพยาบาลที่เป็นคนเดินงานหลัก มีการอบรมการดูแลทางจิตสังคม ดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้ และทำงานเป็นเครือข่ายจากโรงพยาบาลแม่ข่ายไปสู่โรงพยาบาลในชุมชนแบบข้ามพื้นที่ มีการประสานงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนเรื่องอุปกรณ์ในการดูแล และให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย แต่ยังต้องพัฒนาระบบ (เช่น การให้ยามอร์ฟีนผู้ป่วยที่บ้าน) และการแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรในชุมชนให้มากขึ้น 

         พญ.ขวัญชนก บูระพันธ์ และ พว.มาลินันท์ พิมพ์พิสุทธิพงศ์ จาก รพ.พล (รพ.ชุมชน) ขอนแก่น กล่าวถึงปัจจัยสำคัญการทำให้งานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย คือการทำงานเป็นทีม ในโรงพยาบาลจะมีพยาบาลพาลลิเอทีฟแคร์ประจำอยู่ทุกหน่วยคอยแนะนำตัวกับผู้ป่วย ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยโดดเดี่ยว มีการใช้โซเชียลมีเดียให้คำปรึกษาและส่งต่อข้อมูลผ่าน รพ.สต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล) 13 แห่ง เพื่อรองรับผู้ป่วยที่บ้าน รวมถึงการสร้างความรับรู้ในชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ทำงานประสานกัน

         ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย จะต้องเริ่มด้วยการวางระบบภายในโรงพยาบาล และวางระบบนอกโรงพยาบาลเพราะต้องมีการดูแลต่อเนื่องเชื่อมโยงกันกับชุมชน เพื่อทำให้ผู้ป่วยไปเสียชีวิตที่บ้านได้โดยมีระบบสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทีมแพทย์พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด จิตอาสา และรพ.สต. รวมถึงต้องมีระบบการสื่อสารระหว่างทีมทำงาน และที่ขาดไม่ได้คือ ระบบยาโอปิออยด์ (ระงับปวด) และเครื่องมือเพื่อใช้การดูแลความปวด เพราะถ้าไม่มีระบบสนับสนุนดังกล่าว เป็นไปได้ยากที่ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่บ้านได้มีคุณภาพ 

         แต่ที่ผ่านมา การเข้าถึงยาแก้ปวดเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพราะสาเหตุหลายประการ เริ่มจากกฎหมายหมาย ประกอบการขาดความรู้ ทำให้บุคลากรจึงไม่ใส่ใจ พยายามหลีกเลี่ยงไม่กล้าใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่กับอาการปวดอย่างไม่จำเป็น การวางระบบยาของทีมเภสัชกร รพ.อุดรธานี เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาให้กับโรงพยาบาลทั่วจังหวัด และเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรสนใจ ชื่นชม และช่วยกันเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง 

         ภญ.วราภรณ์ ริมไชยสิทธิ์ จาก รพ.อุดรธานี กล่าวถึงการพัฒนาระบบยาของโรงพยาบาลว่า จะต้องเริ่มจากทำให้ห้องยาในโรงพยาบาลเข้มแข็ง และทำให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะการใช้ยา เนื่องจากคนไข้ระยะท้ายส่วนใหญ่จะกลับไปอยู่ที่บ้าน จึงต้องมีระบบติดตามและส่งต่อจากโรงพยาบาลจังหวัด ประสานงานให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเหมือนอยู่โรงพยาบาลชุมชน 

         โดยระบบยาในผู้ป่วยระยะท้ายจะต้องประกอบด้วย “ทีม กรอบรายการยา กฎหมาย การบริหารจัดการยา การบริบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในให้ใช้ยาอย่างเหมาะสม การติดตามเยี่ยมบ้าน และการส่งต่อผู้ป่วย” 

         กล่าวคือ จะต้องมีผู้บริหารหรือคนทำงานหลักที่เข้มแข็ง วิเคราะห์และวางกรอบรายการยาในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ให้เพียงพอต่อการดูแล ต้องทำความเข้าใจกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับโอปิออยด์ให้ชัดเจน มีการบริหารจัดการยาที่เข้ากับบริบทของโรงพยาบาลและคนไข้ มีการติดตามยาคืนเข้าระบบของโรงพยาบาลเมื่อคนไข้เสียชีวิต มีเครื่องมือช่วยเรื่องการใช้ยา เช่น สมุดประจำตัวผู้ป่วยและการใช้ยาระงับปวด เพื่อช่วยปรับการใช้ยาและช่วยเตือนความจำในผู้ดูแล เป็นต้น มีระบบการให้คำปรึกษาเรื่องยา ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยระยะท้ายซึ่งจะมีความทุกข์มากกว่าโรคทั่วไปสามารถเข้าไม่ถึงและใช้ยาได้อย่างถูกต้อง

 

(2) “Palliative Care เปลี่ยนทัศนคติการดูแลผู้ป่วยอย่างไร”

         นพ.ซี ศรีวะรมย์ จาก รพ.ห้วยยอด เล่าอย่างอารมณ์ดีว่า โรงพยาบาลมีทีมเวชศาสตร์ครอบครัวที่เข้มแข็งอยู่แล้ว จึงทำให้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้านเป็นเรื่องง่าย คุณหมอบอกว่า “ชีวิตของทุกคนเปรียบได้กับ “บทละคร” เรื่องหนึ่ง ที่มี “ตัวเอง” เป็น “ผู้กำกับ” หน้าที่ของผมคือ “ผู้ช่วยผู้กำกับ” ที่ช่วยสร้างละครตอนสุดท้ายร่วมกับ “ผู้กำกับ” ให้จบแบบ Happy Ending”

         ทางด้าน นพ.เฉลียว สัตมัย จาก รพ.สุรินทร์ เล่าว่า เปลี่ยนสามมิติ ได้แก่ หนึ่ง มุมมองต่อผู้ป่วยเปลี่ยนไป เพราะแต่เดิมมุ่งรักษาโรคให้หาย การค้นหาโรคมีความสำคัญ มองความทุกข์ไม่ใช่เรื่องกายอย่างเดียว แต่มองเป็นองค์รวม เราไม่สามารถเพิ่มวันให้แก่ชีวิตได้ แต่เพิ่มชีวิตให้แก่วันที่เหลืออยู่

         สอง มองผู้ร่วมงานเปลี่ยนไป รักพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพ พยาบาลเป็นที่หนึ่ง ดูแลผู้ป่วยเป็นที่หนึ่ง เป็นองค์รวม เภสัชการเป็นสมองของทีม เพราะทีมต้องใช้ยา และจิตอาสา ทำให้หมออ่อนน้อมถ่อมตน มุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง

         สาม มุมมองต่อตนเอง ทัศนคติต่อผู้ป่วยระยะท้าย เคยกลัวตาย รักสุขสบาย มาไม่กลัวตาย สำคัญที่การเตรียมตัวมากกว่า ทำงานมา ๑๐ ปี ทำให้รู้สึกว่าความตายธรรมดามากๆ ใส่ใจคนที่เราอยู่ด้วยมากกว่า ผู้ร่วมงาน ครอบครัว ผู้ป่วย ไม่ติดค้างใคร ทำสิ่งที่ดีที่สุด 

 
<< ย้อนอ่านตอนที่ 1

ที่มา:

frontpage: