Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

สติ คือทางออกของทุกสิ่ง

-A +A

           การเป็นอาสาเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย หลายคนบอกว่าในฐานะอาสาสมัครต้องใช้สติเข้าช่วย ไม่ว่าสติที่อยู่กับตรงหน้ากับผู้ป่วย หรือแม้แต่สติที่ช่วยผู้ป่วยให้อยู่กับปัจจุบันขณะ คุณสุชาดา โตสิตระกูล หนึ่งในอาสาสมัครที่ดูแลผู้ป่วยเด็กที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ เล่าให้เราฟังว่า 

           ตอนที่สมัครเป็นอาสาข้างเตียง เธอได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กชายอายุ ๑๒ ปี ที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล น้องอยู่บ้านที่ปราจีนบุรี ติดแม่น้ำบางปะกง โรคภัยที่รุมเร้าทำให้น้องเกิดอาการปวดมาก และร้องครวญครางเสียงดังขนาดได้ยินข้ามแม่น้ำไปอีกฝั่ง คราวไหนที่ร้อง แม่ก็รู้สึกใจจะขาด ไม่รู้จะทำอย่างไร

           เมื่อนำตัวมารักษาที่โรงพยาบาล น้องก็ยังคงร้องด้วยความเจ็บปวดแม้ได้รับยาบรรเทาปวดอย่างเต็มที่แล้ว จิตใจของแม่ก็รู้สึกไม่ดี ไม่รู้จะช่วยน้องอย่างไร อีกทั้งเกรงใจเตียงข้างๆ ก็ได้แต่พร่ำบอกให้ลูกอย่าร้อง แต่ก็ไม่เป็นผล

           วันแรกที่อาสาสมัครมาเยี่ยมน้องจึงถามเขาถึงอาการเจ็บปวด พบว่ามีแต่คนห้ามเขาไม่ให้ร้อง ที่เขาร้องเพราะเป็นการระบายออก พอห้ามไม่ให้ร้อง นอกจากไม่ได้บรรเทาอาการปวดทางกายแล้ว ทางใจก็ไม่ได้รับการเห็นใจและเข้าใจด้วย

           เมื่ออาสารับฟังน้องจนเกิดความเข้าใจ จึงชวนให้มองในอีกมุมหนึ่งว่าการร้องส่งผลให้แม่ตกใจทำอะไรไม่ถูกด้วยเช่นกัน ถ้าอย่างนั้นเรามาหาวิธีบรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้การร้องกันดีกว่า อาสาหยิบกระดาษปากกามาจดวิธีต่างๆ ที่น้องเคยทำเพื่อบรรเทาอาการ พบว่ามีหลายวิธี เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม นวด ศิลปะ ฯลฯ แล้วให้น้องเก็บไว้ที่หัวนอนเตือนความจำ ซึ่งทำให้น้องมีทางเลือกในการดูแลตนเองมากกว่าเดิม

           อย่างไรก็ตาม สภาพของโรคทำให้อาการของน้องแย่ลง น้องเริ่มปวดมากขึ้นจนไม่สามารถแตะตัวได้ แตะเพียงนิดก็รู้สึกเจ็บเหมือนถูกทิ่มแทงแล้ว ฉับพลันอาสาจึงประยุกต์วิธีใหม่ด้วยการลูบเบาๆ ไปตามร่างกายของน้องตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า แล้วนับเลข ๑ ๒ ๓ ถ้าลูบที่ตรงไหนก็ให้ใจอยู่ที่ตรงนั้นเพื่อหาฐานที่มั่นให้จิต ซึ่งก็พอช่วยให้น้องได้หลับในช่วงเวลาสั้นๆ ได้ 

           อาสาบอกว่าที่ทำได้ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลอะไร มันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อาจเป็นไปได้ว่าเคยฝึกการนวดสัมผัสเพื่อผ่อนคลาย และวางใจว่าไปเป็นเพื่อนอยู่ตรงหน้ากับเขาเท่านั้น 

           อาสาเล่าเพิ่มเติมน้องเสียชีวิตในระหว่างสามเดือนที่เป็นอาสาข้างเตียง และได้มีโอกาสไปร่วมงานที่ต่างจังหวัด ให้บทเรียนแก่ตนเองว่าชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน น้องเสียโดยไม่มีอาการบ่งบอกว่าจะไป ในตอนแรก ตนเองไม่ได้เตรียมใจไว้ รู้สึกแย่ สติแตก จึงเกิดจุดเปลี่ยนว่าต้องเตรียมใจ มีสติ วางท่าทีให้ถูกว่าไม่ควรเอาความทุกข์มาเป็นของเรา เราสามารถผูกพันได้แต่ไม่ยึดติด และที่สำคัญรู้บทบาทของเราในฐานะอาสาสมัครที่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยน้องตามวาระโอกาส ไม่ได้สำคัญมากมายถึงขนาดเป็นเจ้าชีวิตของเขา

คอลัมน์: