Error message

  • Deprecated function: Methods with the same name as their class will not be constructors in a future version of PHP; views_display has a deprecated constructor in require_once() (line 3066 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/bootstrap.inc).
  • Deprecated function: The each() function is deprecated. This message will be suppressed on further calls in menu_set_active_trail() (line 2385 of /home/budnetorg/domains/budnet.org/public_html/sunset/includes/menu.inc).

ตัวจากไป ใจยังรักษ์โลก

-A +A

           ประเพณีการฌาปนกิจศพของชาวไทยพุทธมีวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย จากที่เคยเผากันกลางแจ้ง พัฒนามาสู่การเผาศพบนเมรุ และทุกวันนี้ เทคโนโลยีการฌาปนกิจก็ก้าวหน้าถึงขั้นใช้ระบบไฟฟ้า ไม่ต้องจุดไฟเผาเหมือนสมัยก่อน แม้เตาเผาศพระบบไฟฟ้าจะไร้ควันและปล่อยมลพิษน้อย แต่ต้นทุนในการสร้างและใช้งานย่อมสูงตามไปด้วย ส่วนเตาเผาศพที่ใช้เชื้อเพลิง มีตั้งแต่ใช้ถ่านไม้ ฟืน น้ำมันดีเซล และแก๊ส การใช้ถ่านไม้ ฟืน และน้ำมันดีเซลจะก่อมลพิษมาก เพราะอุณหภูมิการเผาไหม้ค่อนข้างต่ำ ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเขม่าควันมาก รวมทั้งสารก่อมะเร็งสารพัดชนิด แต่ถ้าใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง อุณหภูมิการเผาไหม้ค่อนข้างสูง มลพิษที่เกิดจะน้อยกว่า ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำดีๆ ที่ทำให้เราอยู่และจากโลกนี้ไปอย่างคนรักษ์โลก

 

เปลี่ยนจากเผาเป็นฝัง

           (ถ้าทำได้) งานวิจัยชิ้นหนึ่งของออสเตรเลียระบุว่า ศพชายรูปร่างมาตรฐาน หากเผาที่ระดับความร้อน ๘๕๐ องศาเซลเซียสนาน ๙๐ นาที จะผลิตก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่า ๕๐ กิโลกรัม การเปลี่ยนมาใช้วิธีการฝัง นอกจากจะไม่ก่อมลพิษแล้ว ศพที่เน่าเปื่อยก็จะกลายเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ

 

ไม่เผาอะไรนอกจากศพ

           หลายคนมีความเชื่อในการนำข้าวของเครื่องใช้ของผู้ตายเผาไปพร้อมกับศพด้วย สิ่งของเหล่านี้เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทางที่ดีอะไรที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ก็อาจนำไปบริจาคเพื่อเป็นกุศลทานแก่ผู้วายชนม์ อะไรที่จำเป็นต้องเผา ก็เผาพอเป็นพิธี

 

ลดจำนวนวันเก็บศพลง

           งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง” พบว่า ชาวบ้านมีค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเฉลี่ยอยู่ที่ ๑๓,๐๐๐ – ๑๗,๐๐๐ บาทต่อวัน นั่นหมายความว่าถ้าเก็บศพไว้ ๕ - ๗ วัน ก็ต้องควักกระเป๋าจ่ายร่วมแสน การลดจำนวนวันเก็บศพไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ยังประหยัดทรัพยากรที่ใช้ในการจัดงาน ตั้งแต่ไฟฟ้า น้ำประปา ไปจนถึงข้าวปลาอาหารเลี้ยงแขก

 

เปลี่ยนพวงหรีดเป็นต้นไม้

           พวงหรีดดอกไม้สดก็มีราคาแพงและอยู่ได้ไม่กี่วัน ลองเปลี่ยนจากการให้พวงหรีดเป็นต้นไม้ ภายหลังเสร็จงาน ยังนำต้นไม้ลงดิน ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้วายชนม์ได้อีกโสด

(จาก “ช่วยโลก” ใน NATIONAL GEOGRAPHIC)

 

คอลัมน์:

ผู้เขียน:

คำสำคัญ: