คลายปัญหาด้วยใจสงบ
๒๖ ธันาวาคม ๒๕๔๖
สิ่งที่แน่นอนอย่างหนึ่งในชีวิตคนเรา คือ ความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาเรื่องงาน หรือ ความสัมพันธ์กับผู้อื่นจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า ในโลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้น ความสุขก็คือความทุกข์น้อย ศาสนาพุทธจึงมุ่งเน้นสอนวิธีพ้นทุกข์ แม้เราไม่อาจเลือกหรือเลี่ยงความทุกข์หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถเลือกวิธีมองและจัดการกับปัญหาเพื่อให้เรามีความทุกข์น้อยลง หรือมีความสุขขึ้นท่ามกลางปัญหาต่างๆที่รุมเร้าได้วิธีการหนึ่งคือการหยุด นิ่ง และรักษาใจให้สงบ น้องไอซ์ หลานชายวัยเก้าขวบใช้ความนิ่งสงบความเจ็บปวดเมื่อเขาวิ่งชนประตูกระจกเข้า อย่างแรง ขณะที่แม่ของหนูน้อยกำลังวิ่งมาเพื่อดูอาการและปลอบขวัญ น้องไอซ์ยกมือขึ้นห้ามพร้อมพูดว่า “เดี๋ยวก่อนครับแม่ ขอไอซ์นั่งสมาธิระงับความเจ็บปวดก่อน” พูดจบหนูน้อยก็นั่งลง หลับตาพริ้มพร้อมคราบน้ำตา หลังจากนิ่งเงียบไปครู่หนึ่ง
น้องไอซ์ลืมตาขึ้นพร้อมรอยยิ้ม แล้วพูดว่า “ไอซ์หายเจ็บแล้วครับ” แทนที่จะตีโพยตีพายร้องไห้ กล่าวโทษประตูที่ทำให้เขาเจ็บ น้องไอซ์เลือกที่จะหยุดเพื่อรักษาใจของเขา ปล่อยให้เวลา และความสงบเยียวยาบาดแผลผู้ใหญ่หลายคนทึ่งที่เด็กน้อยคนนี้รู้จักวิธีการ จัดการปัญหาของเขาด้วยตัวเอง ที่เขาได้เรียนรู้มาจากการเข้าอบรมปฏิบัติธรรมสำหรับเด็กครั้งหนึ่งเมื่อปี ก่อนหลายครั้ง เวลาเราเผชิญปัญหาและความไม่สบายใจเราอยากหนีจากสภาวะนั้น ใจที่ดิ้นรนให้พ้นสภาพทุกข์กลับเพิ่มความทุกข์เข้าไปอีกบางปัญหาต้องอาศัย เวลาและความอดทนในการแก้ไข แต่ในสภาวะที่ใจวุ่นวาย ขุ่นมัวการมองปัญหาและวิธีการแก้ อาจทำได้ไม่ดีนัก เหมือนคลำหาของในเวลากลางคืน หลายครั้งเราก็สร้างปัญหาใหม่เพิ่มเข้าไปอีกด้วยซ้ำ หากเราทำใจให้สงบ ใจที่สงบเปรียบเสมือนแสงสว่างส่องทางให้เราได้อย่างน้อยก็แก้ปัญหาความทุกข์ กระวนกระวายใจของเราก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับใจที่เป็นทุกข์นั้นเป็นคนละส่วนกันการรักษาใจที่เป็น ทุกข์ได้จะช่วยให้เราพร้อมที่จะคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีทำใจให้สงบนั้นมีหลายวิธี การนั่งสมาธิวิปัสสนาเป็นวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย คือการนั่งตามลมหายใจ (อานาปานสติ) อย่าคิดว่าเป็นเรื่องของคนแก่ หรือคนแก่วัดคนเรามีลมหายใจกันทุกคน แต่ไม่เคยจะอยู่กับมันจริงๆ เมื่อรู้ตัวว่ามีปัญหาหรือเริ่มเครียดลองนั่งท่าสบายๆ ในที่ๆ เราชอบ เอามือวางบนหน้าท้องแล้วปล่อยใจสบายๆ ตามจังหวะการเคลื่อนไหวของลมหายใจเข้าออก ไปเรื่อยๆ เมื่อใจผ่อนคลาย ลมหายใจจะยาวและละเอียดขึ้น ทางการแพทย์ชี้ว่าการหายใจที่ดีมีประสิทธิภาพทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง สมองได้ดีขึ้น ดังนั้นการคิดทำอะไรในช่วงเวลานี้ก็น่าจะดีด้วย หากวิธีดังกล่าวไม่เหมาะกับเราในช่วงเวลานั้น ก็ลองหากิจกรรมอื่นๆทำเพื่อเบนความหมกมุ่นในปัญหาชั่วคราว เราอาจฟังเพลงบรรเลงเพราะๆ ไปเที่ยวดูธรรมชาติ น้ำตก ต้นไม้ ทะเล หรือทำงานที่ต้องใช้แรงเช่น ทำงานบ้าน ทำสวน ทำอาหาร วิธีการเหล่านี้ช่วยให้ใจสงบและ ผ่อนคลายได้เพราะเราจะจดจ่อ และเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งที่ทำ อีกวิธีหนึ่งซึ่งน่าจะได้ผลดีทั้งต่อตัวเองและสังคม ก็คือ การอาสาทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ การได้ทำตัวเป็นประโยชน์ช่วยเพิ่มความรู้สึกที่ดีให้ตัวเอง และทำให้เรามองภาพรวมของชีวิตกว้างขึ้นอย่างน้อยเราจะเห็นปัญหาของเราเล็กลง เมื่อเทียบกับคนอื่นๆที่อาจมีปัญหามากกว่าท่าทีในการมองปัญหาก็เป็นอีกสิ่ง ที่สำคัญมาก เป็นตัวกำหนดใจและทิศทางการแก้ปัญหาเลยทีเดียว เริ่มแรกขอให้มองปัญหาด้วยหลักไตรลักษณ์ หมายความว่า ปัญหาใดๆก็ตามเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวร จรเข้ามาในชีวิตเราระยะหนึ่งแล้วก็จะจากไป ใจที่ยังผูกติด เหนี่ยวรั้งปัญหาต่างหากที่ทำให้เราทุกข์มากกว่าปัญหาจริงๆ เสียอีก ลองมองย้อนไปในอดีตทบทวนดูว่าเราเคยมีปัญหาอะไรบ้าง แล้วปัจจุบันมันยังอยู่กับเราอีกหรือไม่ เราผ่านมันมาได้อย่างไร การพิจารณาประสบการณ์ในอดีตจะช่วยเพิ่มกำลังใจให้เราว่าปัญหาในปัจจุบันก็คง ผ่านไปได้เช่นกัน ขึ้นอยู่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง อีกอย่าง เราควรฝึกมองปัญหาในแง่บวก ทุกเรื่องมีแง่มุมที่หลากหลาย เหมือนโลกที่มีทั้งด้านมืดและสว่างแล้วแต่จุดยืนในการมองของเรา เราไม่อาจเลือกสถาณการณ์ที่เกิดขึ้นได้แต่เราเลือกที่จะมองมันอย่างไรได้ พยายามมองหาสิ่งดีๆที่เรายังมีอยู่หรือทำได้ในช่วงเวลาอันเลวร้าย เช่น หากเกิดอุบัติเหตุรถพังเสียหายก็ยังดี ไม่มีใครบาดเจ็บ หากคนโกงเงินก็ลองคิดว่าดีกว่าเขามาจี้ปล้นทำร้ายเรา หรือนอนป่วยอยู่โรงพยาบาลก็ดีเหมือนกันได้เจอเพื่อนเก่าที่มาเยี่ยมมากมาย
คิดไว้เสมอว่าปัญหาเป็นโอกาสที่ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขึ้น แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเรียนรู้ที่จะประคับประคองใจของเราให้สงบและ เบิกบาน