บ่อยครั้งที่เรารีบออกจากบ้าน โดยไม่ได้คิดว่าเราอยากให้วันนี้เป็นอย่างไร และก่อนที่จะทันรู้ตัว จะมีบางสิ่งบางอย่างหรือบางคนที่เข้ามารบกวนจิตใจ จนทำให้เรามีปฏิกิริยาโต้กลับโดยทันทีด้วยความขุ่นเคือง ขาดความอดทน หรือเดือดดาลโดยที่เราไม่รู้ตัว แม้สิ่งที่เราแสดงออกไปนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เราตั้งใจจะให้มันเกิดขึ้นก็ตาม
“ความตั้งใจ” หมายถึงการให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่เราคิด พูด หรือทำ
เมื่อเราทำสิ่งที่ไม่ตั้งใจ การรับรู้ของสมองเราจะทำให้ระบบประสาทที่ส่งต่อไปยังสมองส่วนล่างขาดความเชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาและจิตสำนึกทำงานช้าลง โดยสมองส่วนจิตไร้สำนึกจะควบคุมการตัดสินใจและพฤติกรรมส่วนใหญ่ของเรา
เราควรกำหนดความตั้งใจ และทำให้เป็นเรื่องแรกๆ ในความคิดของเราตั้งแต่ตื่นนอน ซึ่งช่วยให้สมองส่วนล่างเชื่อมโยงกับสมองส่วนกลาง ทำให้เราได้ทำสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ หรือการตอบสนองต่อช่วงเวลาที่ยากสำหรับเรา ช่วยให้เรามีสติและมีความกรุณามากขึ้น
“ความตั้งใจ” หมายถึงการให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่เราคิด พูด หรือทำ
ปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ในเวลาตื่นนอน ก่อนที่จะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาหรือเช็คอีเมล เพื่อฝึกที่จะให้จิตใต้สำนึกเชื่อมโยงกับความคิดการกระทำของเรา
นั่งบนเตียงหรือบนเก้าอี้ในท่าที่สบายผ่อนคลาย หลับตาลงและเชื่อมโยงกับร่างกายของตัวเอง ให้แน่ใจว่ากระดูกสันหลังตรง และไม่เกร็ง
ให้ลมหายใจเข้าไปหล่อเลี้ยงปอดและร่างกาย หายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางปาก จากนั้นปล่อยให้ลมหายใจเป็นจังหวะปกติของเรา รับรู้และตามลมหายใจของเรา รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวขึ้นลงของหน้าอกและท้องในขณะที่หายใจ
หรืออาจจะใช้คำถามต่อไปนี้ เพื่อช่วยตอบคำถามถึงกิจกรรมและคนที่เราจะได้พบเจอในวันนี้
เช่น วันนี้เราจะอ่อนโยนกับตัวเอง อดทนกับคนอื่น มีเมตตา มีความมั่นคงในจิตใจ ปกป้องคุ้มครอง มีความสนุก กินอาหารอร่อย หรือเรื่องอื่นๆ ที่เรารู้สึกว่าสำคัญ
หยุดพัก สูดลมหายใจ และทบทวนความตั้งใจที่คิดไว้ ให้สังเกตว่าวันนี้เรามีสติและได้ทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้หรือไม่ คุณภาพของการสื่อสาร ความสัมพันธ์ และอารมณ์ ต่างไปจากที่ตั้งใจไว้หรือไม่
ห้าข้อนี้เป็นวิธีการฝึกสติ ณ ขณะตื่นนอน เพื่อให้เราได้เชื่อมโยงกับตัวเอง และมีสติในการใช้ชีวิตประจำวัน