การเยียวยาทางจิตใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยังเป็นเรื่องที่ผู้คนในปัจจุบันให้ความสนใจกันน้อย เป็นผลให้ชีวิตในช่วงสุดท้ายของผู้ป่วยเป็นอันมากเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน จนไม่อาจจากไปได้อย่างสงบ
ขณะที่สังคมสมัยใหม่ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพบอยู่ในโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ต้องการเยียวยาเป็นอย่างมากคือการเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจ เพราะกลไกของระบบสุขภาพไม่สามารถรองรับความต้องการดังกล่าว แม้แต่ครอบครัวเครือญาติ คนใกล้ชิด ก็ไม่พร้อมที่จะทำตามความปรารถนาของผู้ป่วยได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่กับเรื่องของการทำมาหากิน และสังคมแวดล้อมที่หมดไปกับการหาความสุขจากภายนอก
เหล่านี้สะท้อนถึงทัศนคติเกี่ยวกับความตาย และการดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยความประมาท ยามที่เกิดความเจ็บป่วย เผชิญกับความตายและการพลัดพรากสูญเสีย จึงกระตุ้นเร้าความกลัว ความวิตกกังวล และความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวให้ผุดขึ้นอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจึงต้องการการดูแลรักษาทางจิตใจ ยิ่งระยะสุดท้ายที่มิอาจรักษาต่อไปดีขึ้น การช่วยเหลือทางจิตใจจึงมีความสำคัญ เพราะจะเป็นโอกาสที่จิตใจจะกลับดีขึ้นมา หายทุรนทุราย จนเกิดความสงบ ด้วยการใช้สติกำกับเป็นแนวทางสำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการเยียวยาช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ช่วยให้ผู้ป่วยก้าวข้ามความเจ็บปวดทุรนทุรายได้
ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจ เกิดกำลังใจ มั่นใจ สามารถไตร่ตรอง ตัดสินใจ คลี่คลายปัญหา อย่างมีสติ
พระไพศาล วิสาโล ประธานเครือข่ายพุทธิกา
น.พ.พรเลิศ ฉัตรแก้ว แพทย์ รพ.จุฬา
คุณสุรีย์ ลี้มงคล พยาบาล รพ.ศิริราช
คุณนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้จัดการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ Access
น.ส.นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ
Facebook: peacefuldeathconsult
Tel: 086-002-2302 (วันจันทร์ – ศุกร์ 10.00 – 16.00 น.)