หล่อเลี้ยงเป้าหมายของชีวิตทุกๆวัน

เครือข่ายพุทธิกา 11 กุมภาพันธ์ 2025

งานวิจัยพบว่าการฝึกความรู้สึกตัวทำให้ผู้คนมีเป้าหมายชีวิต และในการศึกษาปี 2014 นักวิจัยพบว่าการมีเป้าหมายชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีอายุยืนยาว ในคนหนุ่มสาว เป้าหมายชีวิตจะช่วยกำหนดทิศทางชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

• เริ่มจาก “รู้สึกตัว”

วิคเตอร์ สเตรเชอร์ นักวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่คณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน และผู้เขียนหนังสือ Life on Purpose หรือ “ขีวิตที่มีความหมาย” กล่าวว่า การรู้สึกตัวช่วยส่งเสริมความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมาย

• ชีวิตที่มีความหมายทำให้แข็งแกร่งทั้งกายและใจ

ความสุขจากการใช้ชีวิตที่มีความหมาย หรือความสุขแบบยูดิมอนิก (Eudemonic happiness) ทำให้ความเครียดลดลง การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแข็งแกร่งขึ้น และการนอนหลับดีขึ้น ลักษณะเดียวกับการทำเพื่อผู้อื่น (Altruism) เช่น การเป็นอาสาสมัคร การบริจาค ซึ่งให้ผลตรงข้ามกับความสุขแบบสุขนิยม (Hedonic happiness)

• ค้นหาเป้าหมายชีวิตของตัวเอง

ถามตัวเองทุกวันว่า ฉันสนใจอะไรนอกเหนือจากตัวเอง อาจเป็นการดูแลสุนัขหรือแมวไร้บ้าน การอยากทำให้โลกนี้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น หรือยากช่วยเหลือคนพิการ เป็นต้น

• วันนี้ฉันสามารถทำอะไรได้บ้าง

ทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา เช่น หากอยากให้โลกนี้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นก็ลงมือปลูกต้นไม้ทั้งที่บ้านและพื้นที่สาธารณะ

• การกระทำของฉันจะส่งผลต่อโลกอย่างไร หาเวลาใคร่ครวญว่าทุกการกระทำของเราจะส่งผลต่อโลกอย่างไร

ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สิ่งที่ทำอยู่มันตอบโจทย์เป้าหมายชีวิตของเราหรือไม่

• ฝึกฝนและทำซ้ำไปเรื่อย ๆ

เมื่อพบเป้าหมายชีวิตหรือสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย ให้ลงมือทำต่อไป และหมั่นดูความรู้สึกว่าเมื่อเป้าหมายชีวิตของคุณเติบโตขึ้น คุณมีความสุขหรืออิ่มเต็มในชีวิตเพิ่มมากขึ้นหรือไม่


เรียบเรียงจาก:
Get started with mindfulness, Volume 7, Your guide to mindful living, Mindful magazine Mindful.org.