ให้อภัยเขา ใจเราเบา

เครือข่ายพุทธิกา 7 ตุลาคม 2024

ในโลกการทำงานมักมีการกระทบกระทั่งกัน ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว มีสุภาษิตว่า “การไม่ให้อภัยก็เหมือนกับเราดื่มยาพิษและคาดหวังให้อีกฝ่ายตาย” ขณะที่การให้อภัยผู้อื่น (และตัวคุณเอง) สามารถช่วยให้คุณปลดปล่อยภาระอันหนักอึ้งและสัมผัสกับอิสรภาพภายในได้มากขึ้น

เข้าใจการให้อภัย

การให้อภัยไม่ได้หมายความว่าคุณจะให้อภัยในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผู้กระทำความผิดนั้น แต่เป็นการตัดสินใจ “เลือก” อย่างรู้สึกตัว ที่จะปลดปล่อยตัวเองจากภาระ ความเจ็บปวด และความเครียดจากการยึดติดกับความโกรธ

รู้สึกถึงความเจ็บปวด

อนุญาตให้ตัวเองรับรู้และให้เกียรติความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น สังเกตว่าคุณรู้สึกอย่างไรในร่างกาย แล้วถามตัวเองว่า “ตอนนี้ฉันต้องการอะไร” บางทีคุณอาจอยากได้รับการสนับสนุน ใช้เวลามากขึ้น หรือทำอะไรบางอย่างเพื่อตัวเอง วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณรู้ว่า คุณพร้อมที่จะปลดปล่อยความเจ็บปวดออกจากใจและความคิดหรือไม่

เรียกชื่อความรู้สึก

ไม่ว่าคุณจะทำร้ายตัวเองหรือถูกคนอื่นทำร้าย บอกความรู้สึกที่มีอยู่ออกมา โศกเศร้า ละอายใจ สับสน หรือโกรธ จากการศึกษาที่ UCLA พบว่าการตั้งชื่ออารมณ์จะช่วยสร้างพื้นที่ผ่อนคลายและลดความรู้สึกอึดอัดได้

ปล่อยมันออกมา

การเก็บความรู้สึกเจ็บปวดไว้ในภายใน มีแต่จะเพิ่มความเครียดให้กับจิตใจและร่างกายมากขึ้น ลองดูว่าคุณสามารถแบ่งปันความรู้สึกของตัวเองได้หรือไม่ คุณสามารถเขียนเรื่องนี้ลงในสมุดบันทึก หรือพูดคุยกับเพื่อน หรือที่ปรึกษามืออาชีพ การแบ่งปันเรื่องราวจะช่วยให้คุณขยายมุมมองและอาจมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมุมมองที่แตกต่างออกไป

พลิกมุมมอง

หากเป็นไปได้ ลองดูว่าคุณสามารถเปลี่ยนจุดสนใจจากการเป็นเหยื่อ เป็นการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในบทบาทของอีกฝ่ายได้หรือไม่ แบบฝึกหัดนี้เป็นการพยายามมองอีกฝ่ายในฐานะมนุษย์ที่ได้รับผลกระทบจากความบอบช้ำทางจิตใจ ซึ่งเป็นที่มาของการกระทำและการประพฤติตัวของเขา หากคุณสามารถทำเช่นนี้ได้ จะมีความเห็นอกและเข้าใจมากขึ้นนี้

ลงมือปฏิบัติ (เริ่มจากสิ่งเล็กๆ)

ไม่ว่าคุณจะให้อภัยตัวเองหรือผู้อื่น การลงมือทำสามารถช่วยเยียวยาและทำให้คุณรู้สึกมีพลังมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือเริ่มต้นด้วยเรื่องการกระทำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การเขียนบันทึกถึงตัวเอง หรือเขียนจดหมายถึงผู้ที่ทำร้ายคุณ เพื่อบอกเล่าความรู้สึก โดยไม่ต้องส่งไปรษณีย์

คุณไม่ได้อยู่คนเดียว

เมื่อคุณได้รับบาดเจ็บ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกว่าคุณเป็นคนเดียวที่ถูกกระทำ การทำผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ของมนุษย์ที่มีร่วมกัน การคิดว่าคุณไม่ได้เป็นและอยู่คนเดียวกับประสบกับความเจ็บปวดแบบนี้สามารถช่วยให้คุณคลายความโกรธได้

การให้อภัยเป็นกระบวนการ จงมีเมตตากับตัวเอง

หากเป็นการทำร้ายเพียงเล็กๆ น้อยๆ การให้อภัยสามารถเกิดขึ้นได้ค่อนข้างเร็ว แต่หากการละเมิดที่ใหญ่กว่านั้น อาจต้องใช้เวลาหลายปี หายใจเข้าลึกๆ และทำต่อไป

หยุดกล่าวโทษได้แล้ว

การกล่าวโทษทำให้ความคิดเชิงลบผุดขึ้นมาในจิตใจของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพิ่มความเครียดและกัดกร่อนความสัมพันธ์ของเรา เบรเน บราวน์ นักเขียนและนักวิจัยด้านอารมณ์ที่มีชื่อเสียงชื่อ กล่าวไว้ว่า “การกล่าวโทษเป็นวิธีระบายความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบาย”

ฝึกรู้สึกตัว

การศึกษาโดยสำรวจผู้ใหญ่ 94 คนที่ถูกคู่รักนอกใจ พบว่ายิ่งคุณฝึกรู้สึกตัวมากเท่าไร คุณก็ยิ่งมีความสามารถในการให้อภัยมากขึ้นเท่านั้น


เรียบเรียงจาก:
99 ways to live a mindful live, Special Editor summer 2020, mindful.org