การนอนหลับที่ดีคือกุญแจสู่สุขภาพ นอกจากจะทำให้สุขภาพกายโดยรวมดีแล้ว ยังช่วยให้เราควบคุมและรักษาอารมณ์ได้ดีอีกด้วย ดังนั้นหนังสือและศาสตรเกี่ยวกับความสุขจึงยกให้การนอนหลับเป็นปัจจัยพื้นฐานและสำคัญสำหรับการมีความสุข
Jason Ong นักจิตวิทยาการนอนหลับจาก Rush University Medical Center บอกว่าหากคุณทำทุกอย่างแล้วแต่ยังนอนไม่หลับ ให้ลองทำสิ่งที่แตกต่างออกไป หากนอนไม่หลับแล้วพยายามบังคับให้ตัวเองหลับ จะทำให้เครียด และสมอง “สู้กลับ” ด้วยการไม่ยอมหลับ
หากวางโทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือนาฬิกาที่โต๊ะข้างเตียง เสียงและแสงจะรบกวนการนอน
ร่างกายอาจตึงเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ ให้ใช้วิธีเกร็งแล้วผ่อนคลายแต่ละส่วนของร่างกายและกลุ่มกล้ามเนื้อ เริ่มจากปลายเท่า จนขึ้นมาที่คอ กราม ลิ้น หู คิ้ว และดวงตา
เริ่มต้นด้วยการสแกนร่างกาย โดยเริ่มจากรับรู้ความรู้สึกที่ปลายเท้า และค่อยๆ เคลื่อนการรับรู้ไปจนสุดร่างกาย ขณะที่ปล่อยให้ลมหายใจเข้าและออกตามธรรมชาติ สังเกตความรู้สึกต่างๆ โดยเราเป็นเพียงผู้ดู หากความสนใจเคลื่อนออกไปจากร่างกาย เพียงแค่สังเกตและค่อยๆ กลับมาดูร่างกาย ร่างกายจะเข้าสู่สภาวะผ่อนคลาย และจิตใจก็จะผ่อนคลายตามไปด้วย
ความง่วงเป็นวิธีที่ร่างกายบอกเราว่าต้องพักผ่อน หากเรายังวิ่งไปเรื่อย ๆ สุขภาพก็จะแย่ลง ให้คิดว่าการนอนหลับสำคัญเท่ากับการออกกำลังกายและทำให้เป็นกิจวัตร
งานวิจัยของ UCLA ระบุว่าการฝึกความรู้สึกตัวช่วยปรับปรุงการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีการรบกวนการนอนหลับปานกลาง การฝึกความรู้สึกตัวก่อนเข้านอนสัก 10 นาที ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น โดยมีวิธีที่หลากหลาย เช่น สแกนร่างกาย หรือฝึกดูลมหายใจ”
รีเซ็ทสมองให้มีความสุขด้วยการเขียนบันทึกเรื่องราวที่ทำให้คุณรู้สึกว่า “ดีจังเลย” เช่น วันนี้ไฟสัญญาณจราจรกลายเป็นสีเขียวตลอดทางเลย คนที่เดินผ่านยิ้มให้ การสร้างนิสัยนึกถึงเรื่องเล็กๆ ที่ดีๆ เพียงแค่นี้ก็ทำให้มีความสุข สามารถนอนหลับได้อย่างสบายใจ